หน้าเว็บ

11 ตุลาคม 2551

Jemaah Islamiyah in THAILAND

Thailand
For months after the discovery of the Jemaah Islamiyah network, Thai officials
emphatically denied mounting evidence that Al Qaeda and Jemaah Islamiyah
members operate in their country or that militant Thai Muslim secessionist groups
have ties to foreign terrorist networks.36 New evidence has surfaced that Thailand’s
public denials were used as a cover for close, covert counter-terrorism cooperation
between the U.S. Central Intelligence Agency and Thailand’s Counter Terrorism
Center (CTIC), which was established in early 2001 to provide better cooperation
among Thailand’s main security agencies. The CIA reportedly has assigned
approximately 20 agents to the CTIC and in 2002 provided between $10 million and
$15 million to the center. Acting on CIA intelligence, the CTIC took the lead in
capturing Hambali, and also has captured a number of other suspected JI operatives.37
President Bush’s summit with Prime Minister Thaksin Shinawatra seemed to indicate
that U.S.-Thai anti-terrorist cooperation has been close; the two leaders announced
their intent to launch negotiations on a bilateral Free Trade Agreement, and President
Bush announced his decision to designate Thailand as a major non-NATO ally in
recognition of its support of the U.S. war against terrorism.


Bangkok publicly embraced a more active anti-terrorist campaign in May and
June 2003, when Prime Minister Thaksin’s government announced the arrest of three
Thais in the southern province of Narathiwat for allegedly planning to bomb Western
embassies in Bangkok — including the U.S. embassy — and Thai beach resorts
popular among Western tourists. The arrests, which were announced while Thaksin
was in the United States for a summit with President Bush, came a week after three
Thais from a Wahabi sect were arrested on terrorism charges in Cambodia. Another
Cambodian Muslim arrested in June 2003 had spent the previous three years studying
in southern Thailand. Thai officials said the arrests showed that foreign-linked
terrorist groups have set up cells in Thailand’s predominantly Muslim southern
provinces.38 Islamic secessionist groups have operated in Thailand’s Muslimmajority
southern provinces for decades, though violent attacks by Islamic militants
largely disappeared in the years following the passage of the 1997 constitution, which
granted the provinces greater autonomy over local affairs.


Evidence demonstrating increased Islamic terrorist activity in Thailand had been
mounting since late 2001. Confessions of detained Al Qaeda and Jemaah Islamiyah
suspects indicate that the groups use Thailand as a base for holding meetings, setting
up escape routes, acquiring arms, and laundering money. In January 2002, Hambali
is reported to have convened a meeting of the networks’ operatives in southern
Thailand at which the group decided to target “softer” targets such as the nightclubs
in Bali that were attacked in October 2002. A number of Al Qaeda and Jemaah
Islamiyah figures, including convicted World Trade Center bomber Ramzi Yousef,
have taken advantage of lax border controls and tourist-friendly visa requirements to
flee to Thailand to escape arrest in other Southeast Asian countries.39

Under interrogation, captured Al Qaeda operative Omar al-Farouq reportedly has confessed to his attempts to cooperate with Gerakan Mujahideen Islam Pattani, a small
separatist group in Thailand whose founder fought with the Mujahideen in
Afghanistan.40 One prominent anti-terrorism expert has called attention to a
previously unknown underground network, called Jemaah Salafiya, that allegedly is
affiliated with Jemaah Islamiyah.41


Additionally, Al Qaeda and Jemaah Islamiyah members reportedly have
purchased weapons on Thailand’s large black market in arms. Fears that radioactive
contraband has entered the Thai open market were heightened in June 2003, when
Thai and U.S. agents worked together to arrest a Thai citizen for trying to sell 30kg
of cesium-137, a substance used for medical purposes that could be attached to
conventional explosives for use in a “dirty bomb.” Reportedly, the arrested
individual has confessed to smuggling the cesium into Thailand from Laos, where
some authorities believe more is being hidden.42 Finally, the confluence of these
confessions with a sudden surge of violent attacks in 2002 in Thailand’s southern
provinces worried some terrorism experts that Islamic militants had become reenergized.
43


1 ประวัติ-ให้แง่คิดที่ว่าต้นตอปัญหามาจากไหน
2 กลุ่มต่างๆ-ให้ความรู้เรื่องกลุ่มก่อการร้ายต่างๆ
3 ปัจจุบัน-ก็ปัจจุบันเท่าที่มี
4 เอล เคด้า เจไอ และโจรใต้


1 ความเป็นมาและปัญหาของโจรก่อการร้าย

จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทยมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยราว ๗๐๐ ปี มาแล้ว จนกระทั่งเมื่อ พ.ศ.๑๘๓๗ ได้เรียกหัวเมืองชายแดนภาคใต้ว่า "หัวเมืองมาลายู" ซึ่งประกอบด้วย เมืองไทรบุรี, กลันตัน, ตรังกานู, และเมืองปัตตานี (รวม จว.ยะลา,นราธิวาส) ต่อมาเมื่อประมาณพ.ศ.๒๓๑๐ ไทยได้เสียกรุงศรีอยุธยาให้กับพม่า หัวเมืองมาลายูทั้ง ๔ จึงตั้งตัวเป็นอิสระ กระทั่ง พ.ศ.๒๓๒๘ สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ ทรงให้เดินทัพไปตีหัวเมืองปัตตานี และรวบรวมหัวเมืองทางใต้ ทั้ง ๔ เข้ามาอยู่ในความปกครองของไทยอีกครั้งหนึ่ง โดยให้มีการปกครองแบบอิสระ แต่ต้องส่งเครื่องบรรณาการให้กับเมืองหลวง (กรุงเทพ) ๓ ปี/ครั้ง หากไม่ส่งจะถือว่าเป็นกบฏ และได้จัดให้มีระเบียบการปกครองบริหารราชการแผ่นดินขึ้นใหม่ ในขั้นต้นให้เมืองไทรบุรีและเมืองกลันตัน อยู่ในความควบคุมดูแลของเมืองนครศรีธรรมราช เมืองปัตตานี, ตรังกานู อยู่ในความควบคุมดูแลของเมืองสงขลา จากกรณีนี้ได้สร้างความไม่พอใจให้กับ ตวนกูราบิดิน (เชื้อสายสุลต่าน เมืองปัตตานี) ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองปัตตานี ต่อมาตวนกูราบิดินได้ไปชักชวน องค์เชียงสือ กษัตริย์ญวนในสมัยนั้นให้ยกทัพมาตีไทย แต่ได้รับการปฏิเสธ ตวนกูราบิติน จึงได้ไปสมคบกับ โต๊ะสาเยก (มาจากประเทศอินเดีย) ก่อการกบฏ และยกกองทัพของเมืองปัตตานีมาตีเมืองสงขลาได้สำเร็จ

พ.ศ.๒๓๓๔ หลังจากเมืองสงขลาตกอยู่ภายใต้อำนาจของเมืองปัตตานี ทางกรุงเทพฯได้ยกทัพของเมืองนครศรีธรรมราชไปทำการปราบปราม และยึดเมืองสงขลากับคืนมาได้ พร้อมทั้งได้มีการแต่งตั้งให้ พระยาเมืองสงขลายกกองทัพไปตีเมืองปัตตานีกลับคืนมาอยู่ภายใต้ความปกครองได้ดังเดิม และเพื่อเป็นการริดรอนกำลังของเมืองปัตตานี รัชกาลที่ ๑ ทรงได้แยกเมืองปัตตานีออกเป็น ๗ หัวเมือง คือ (๑) เมืองปัตตานี (๒) เมืองยะหริ่ง (๓) เมืองหนองจิก (๔) เมืองสายบุรี (๕) เมืองยะลา (๖) เมืองรามัน (๗) เมืองระแงะ โดยได้ทรงแต่งตั้งให้ข้าราชการไทย และมาลายูที่มีความจงรักภักดีเป็นเจ้าเมือง แต่ภายหลังเจ้าเมืองต่าง ๆ ได้ก่อความยุ่งยากมาโดยตลอด รัชกาลที่ ๑ จึงทรงเปลี่ยนแปลงตัวเจ้าเมืองทั้ง ๗ เป็นคนไทยทั้งหมด และทรงยกระดับเมืองสงขลาขึ้นเป็นหัวเมืองเอก โดยขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ มีอำนาจควบคุมดูแลเฉพาะเมืองไทรบุรีด้านฝั่งมหาสมุทรอินเดียเพียงเมืองเดียว เนื่องจากมีพื้นที่กว้างอยู่แล้วเหตุการณ์ได้สงบมาโดยตลอด จนกระทั่ง พ.ศ.๒๓๗๔ สมัยรัชกาลที่ ๓ ระหว่าง พ.ศ.๒๓๘๑ เมืองไทรบุรีได้ทำการกบฏ ๒ ครั้ง แต่ไม่ประสบความสำเร็จ สามารถปราบปรามได้โดยง่าย การก่อการร้ายสงบมาโดยตลอดจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๕

พ.ศ.๒๔๔๐ รัชกาลที่ ๕ ทรงปรับปรุงเปลี่ยนแปลงระเบียบการบริหารราชการแผ่นดินใหม่โดยเรียกว่า "พระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องถิ่น ร.ศ.๑๑๖" ซึ่งได้ทดลองใช้มาจนกระทั่งเมื่อ ๑๐ ธ.ค.๒๔๔๔ จึงทรงประกาศใช้อย่างเป็นทางการโดยให้ใช้กับ ๗ หัวเมืองภาคใต้ (เมืองปัตตานี, สายบุรี, ยะลา, หนองจิก, ยะหริ่ง, รามัน และเมืองระแงะ) โดยเรียกว่า "ข้อบังคับสำหรับปกครอง ๗ หัวเมือง ร.ศ.๑๒๐" มีการแบ่งการปกครองออกเป็น มณฑลเทศาภิบาล มีตำแหน่งพระยาเมือง (เจ้าเมือง), ปลัดเมือง กระบัตรเมือง โดยทั้งหมดขึ้นตรงต่อข้าหลวง สำหรับการตัดสินคดีความจะมีการส่งผู้พิพากษาไปตัดสิน ซึ่งผลจากการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ได้สร้างความไม่พอใจเป็นอย่างมากให้กับ พระยาเมืองที่มีเชื้อสายมาลายู โดยเฉพาะพระยาวิชิตภักดี (เต็งกู อับดุลกาเดร์ กามารุดดิน) พระยาเมืองปัตตานีขณะนั้น จึงได้คบคิดกับพระยาเมืองระแงะ, สายบุรี และพระยาเมืองรามัน (เชื้อสายมาลายูของพระยาสุริยะสุนทรบวรภักดี) ได้ร่วมกันทำหนังสือร้องเรียนส่งไปให้ข้าหลวงใหญ่อังกฤษ ประจำสหพันธ์รัฐมาลายูในสิงคโปร์ว่า ประเทศไทยไม่ให้ความเป็นธรรมและรังแกชาวไทยมุสลิม พร้อมทั้งได้ก่อความไม่สงบขึ้น ต่อมารัชกาลที่ ๕ จึงทรงให้จับกุมพระยาวิชิต และถอดยศแล้วนำไปจองจำที่ เมืองพิษณุโลก มีกำหนด ๑๐ ปี ต่อมาเมือ พ.ศ.๒๔๔๘ พระยาวิชิตได้ถวายฏีกาของพระราชทานอภัยโทษ โดยให้สัญญาว่าจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองอีก รัชกาลที่ ๕ จึงทรงพระราชทานอภัยโทษให้พระยาวิชิตจึงได้เดินทางกับมาอยู่ที่เมืองปัตตานีในสภาพสามัญชนธรรมดาอีกครั้งหนึ่ง

พ.ศ.๒๔๔๙ รัชกาลที่ ๕ ทรงยุบเลิกตำแหน่งพระยาเมือง (เจ้าเมือง ทั้ง ๗ ลง โดยคงเหลือเพียง ๔ หัวเมือง คือ (๑) หัวเมืองปัตตานี, (๒) หัวเมืองยะลา, (๓) หัวเมืองนราธิวาส, (๔) หัวเมืองสายบุรี) จนกระทั่ง พ.ศ.๒๔๕๔ พระยาวิชิต ได้ยื่นเรื่องขอรับเบี้ยหวัดย้อนหลัง และขอกรรมสิทธิ์ครองครองที่ดินเดิมจำนวน ๖๐๐ แปลง แต่ไม่ได้รับการพิจารณาเนื่องจากเป็นกบฎต่อแผ่นดินพร้อมกันนั้นศาลได้พิพากษาให้ยึดที่ดินจำนวน ๖๐๐ แปลง ของพระยาวิชิต เข้าเป็นทรัพย์แผ่นดิน ซึ่งจากกรณีนี้ ได้สร้างความโกรธแค้นให้กับพระยาวิชิตเป็นอย่างมาก จึงมีการวางแผนที่จะสังหารข้าราชการชั้นผู้ใหญ่โดยพระยาวิชิตได้วางแผนเชิญข้าราชการชั้นผู้ใหญ่มาร่วมงานเลี้ยงที่บ้าน แต่ทางการสืบทราบแผนการดังกล่าวเสียก่อน จึงส่งทหารจากเมืองนครศรีธรรมราชไปจับกุมตัวพระยาวิชิต แต่พระยาวิชิตรู้ตัวก่อนจึงอพยพครอบครัวหนีไปอยู่ที่รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย และเสียชีวิตที่รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซียเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๖ ในภายหลังพระยาวิชิต ได้รับการยกย่องจากสมาชิกโจรก่อการร้ายว่า "วีระบุรุษที่ต่อสู้เพื่อแบ่งแยกดินแดนให้อิสลาม"

พ.ศ.๒๔๗๖ ภายหลังการเสียชีวิตของพระยาวิชิต เต็งกูมามุด มะไฮยึดดิน บุตรชายคนที่ ๗ ของพระยาวิชิต ซึ่งสำเร็จการศึกษาจากปีนัง และเข้ารับราชการในแผนกศึกษาของรัฐกลันตัน ได้พยายามดำเนินการตามแนวความคิดของบิดาโดยได้ร่วมกับ เต็งกูบัตตารอ หรือเต็งกูอับดุล กาเดร์ และเต็งกูยะลา นาเซร์ หรือนายอดุลย์ ณ สายบุรี (บุตรพระยาสุรยะบวรภักดี) แต่ในระหว่าง พ.ศ.๒๔๘๔-
๒๔๘๘ ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ ขึ้นเสียก่อน ตวนกูมามุด มะไฮยิดดิน จึงได้สมัครเข้าเป็นทหารอังกฤษไปทำการรบอยู่ในประเทศอินเดีย โดยได้รับยศเป็นพันโท ภายหลังได้เป็นผู้รวบรวมสมาชิกก่อตั้งเป็น "ขบวนการมุสลิมแห่งรัฐกลันตัน" (KELANTAM MEAYYU MUDA) เพื่อต่อต้านกับกองทัพของประเทศญี่ปุ่นซึ่งยึดครองมาลายูในขณะนั้น เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๒ สงบลง เต็งกูมามุด มะไฮยิดดินได้อาศัยขบวนการนี้ เป็นองค์กรบังหน้า โดยได้รับการสนับสนุนทุนทรัพย์จากอังกฤษไปช่วยเหลือชาวไทยมุสลิมประมาณ ๓,๐๐๐ คน ที่ตกค้างอยู่ในประเทศซาอุดิอารเบีย เนื่องจากผลกระทบของสงครามโลกครั้งที่ ๒ เพื่อให้มีโอกาสได้เดินทางกลับภูมิลำเนาเดิม จากพฤติการณ์ต่าง ๆ ของเต็งกูมามุด ฯ เหล่านี้ได้ส่งผลให้มีสมาชิกของขบวนการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

พ.ศ.๒๔๘๘ ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ สงบลง ขบวนการมุสลิมหนุ่มแห่งรัฐกลันตันของเต็งกูมามุดฯ ได้เปลี่ยนชื่อของขบวนการใหม่เป็น "ขบวนการรวมเผ่ามาลายูที่ยิ่งใหญ่" (Persatuan Kumpulan Melayu Pattani Raya : (K.U.M.P.R.A.) ตั้งอยู่ที่รัฐกลันตันประเทศมาเลเซียมีอำนาจเหนือสุลต่านรัฐกลันตันและระหว่าง พ.ศ.๒๔๗๘-๒๔๘๘ เต็งกูมามุดฯ ได้นำขบวนการของตนเองมาร่วมกับ กลุ่มของ เต็งกูยะลา นาเซร์ หรือนายอดุลย์ ณ สายบุรี (๑๔ ม.ค.๒๔๗๘ ได้อ้างตัวเป็น หน.ของชาวไทยมุสลิม ทำหนังสือขึ้นร้องเรียนต่อนายกรัฐมนตรี) โดยตั้งชื่อขบวนการใหม่นี้ว่า "ขบวนการแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติปัตตานี"(Barisan nasional pembebasan pattani : N.N.P.P.) และมีชื่อในภาษาอังกฤษว่า "National Liberation Front of pattani : N.L.F.P.) ซึ่งมีแผนการที่จะแบ่งแยกดินแดนจากไทย ซึ่งต่อมาได้เริ่มมีการเคลื่อนไหวทั้งในประเทศไทย และมาเลเซีย ระหว่าง พ.ศ.๒๔๙๐-๒๔๙๑ โดยการเคลื่อนไหวในประเทศไทยได้มอบหมายให้ หะยีสุหลง โต๊ะมีนา (ประธานกรรมการอิสลามปัตตานี) เป็นผู้รับผิดชอบ โดยปลุกระดมยุยง และพยายามบิดเบือนข้อเท็จจริงให้ชาวไทยมุสลิมเกลียดชังรัฐบาลและชาวไทยพุทธ จนกระทั่งเดือน ส.ค.๒๔๙๐ ได้มีกลุ่มผู้นำศาสนาอิสลาม ประมาณ ๑๐๐ คน ได้เข้าชื่อเรียกร้องให้รัฐบาลไทยแก้ปัญหา ๗ ข้อ พอสรุปได้ดังนี้
๑. ให้รัฐบาลไทยตั้งบุคคลที่เป็นชาวไทยมุสลิมใน ๔ จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นข้าหลวงและอยู่ในตำแหน่งตลอดชีวิต
๒. ให้สอนภาษามาลายูในโรงเรียนของรัฐบาลจนถึงชั้น ป.๔
๓. หนังสือราชการต้องใช้ ๒ ภาษา คือภาษาไทย, ภาษามาลายู
๔. ให้แยกผู้นับถือศาสนาอิสลามจากผู้นับถือศาสนาอื่นๆ เพื่อพิจารณาคดีชาวไทยมุสลิมต่างหาก
๕. ภาษีอากรของชาวไทยมุสลิมภาคใต้ ให้ใช้บำรุงในท้องถิ่นที่ชาวไทยมุสลิมชายแดนภาคใต้เท่านั้น
๖. ข้าราชการในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องเป็นคนนับถือศาสนาอิสลาม ๘๐%
๗. มอบอำนาจให้คณะกรรมการอิสลามออกกฎหมายใช้เองใน ๔ จังหวัดชายแดนภาคใต้

พ.ย.๒๔๙๐ เกิดการรัฐประหาร จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้สั่งการเมื่อ ม.ค.๒๔๙๑ ให้จับกุมตัว หะยีสุหลง โต๊ะมีนา , นายแวหะมะ อาหะมะ, นายหะยีอุเซ็ง และนายแวมะนิง รวม ๔ คน พร้อมทั้งยึดเอกสารปลุกระดมการแบ่งแยกดินแดนได้อีกจำนวนมาก กลุ่มบุคคลเหล่านี้จึงถูกนำตัวไปขึ้นศาลที่ จว.นครศรีธรรมราช และถูกพิพากษาให้จำคุก ๗ ปี (ต่อมาด้วยเหตุผลทางการเมือง กลุ่มบุคคลเหล่านี้ได้รับการปล่อยตัวเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๓) ต่อมาเมื่อ เม.ย.๒๔๙๑ ระหว่างที่ หะยีสุหลง ฯ และพวกถูกจับกุมตัว ได้มีการก่อความไม่สงบจนถึงขั้นจลาจลใน ๒ พื้นที่ คือ (๑) บ.ตุซงญอ อ.ระแงะ ปัจจุบันเป็น อ.จะแนะ) จว.นราธิวาส และ (๒) บ.ปะลุกาสาเมาะ บ.บาเจาะ จว.นราธิวาส รัฐบาลต้องปราบปรามอยู่หลายปีเหตุการณ์จึงสงบลง

พ.ศ.๒๔๙๖ ตวนกูมามุด ฯ ซึ่งได้หลบหนีไปอยู่มาเลเซีย ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๘๘ ได้เสียชีวิตลง ตวนกูยะลา นาเซร์ หรือนายอดุลย์ ณ สายบุรี ได้เป็น หน.ขบวนการ B.N.P.P. และได้ใช้บ้านพัก ที่เมืองบาเซปูเต๊ะ รัฐกลันตัน มซ. เป็นบ้านพัก และศูนย์ปฏิบติการมาโดยตลอด และตวนกูยะลา นาเซร์ ได้เสียชีวิตลง เมื่อ ๒๖ ก.ย.๒๕๒๐
พ.ศ.๒๔๙๗ หะยีสุหลง โต๊ะมีนา พร้อมนายวันมูฮัมหมัด (บุตรชายหะยีสุหลง) กับพวก ๓ คน ถูกลอบสังหารเสียชีวิตหมด บรรดาลูกศิษย์ และสมัครพรรคพวกจึงได้หลบหนีไปอยู่รัฐกลันตันประเทศมาเลเซีย

๓๑ ส.ค.๒๕๐๐ ประเทศมาลายูได้รับเอกราช และประกาศใช้รัฐธรรมนูญสหพันธ์รัฐมาลายู ๔ ประการ คือ
๑. สงวนที่ดินบางส่วนให้ ราษฎรมาเลเซีย (มุสลิม) เท่านั้น
๒. สงวนตำแหน่งข้าราชการให้ชาวมาเลเซีย (มุสลิม) เท่านั้น
๓. จำกัดโควต้าธุรกิจต่างประเทศให้เฉพาะชาวมาเลเซีย (มุสลิม) เท่านั้น
๔. จำกัดโควต้าการมีสิทธิ์รับทุนเรียนให้ชาวมาเลเซีย (มุสลิม) เท่านั้น
การปกครองของประเทศมาเลเซียภายหลังได้รับเอกราช มีลักษณะเป็นอิสระให้แต่ละรัฐปกครองกันเอง กอปรกับมีการให้อภิสิทธิ์แก่ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามดังกล่าวข้างต้น ทำให้ชาวไทยมุสลิมทางภาคใต้ มีแนวความคิดว่าถ้าได้ไปอยู่ภายใต้การปกครองของมาเลเซียจะได้รับความสำคัญมากกว่า จึงควรที่จะพยายามแยกตัวมาอยู่กับประเทศมาเลเซียจะดีกว่า อีกทั้งพรรคการเมืองมาเลเซียบางพรรคต้องการเสียงสนับสนุนการก่อการร้าย (โจรก่อการร้ายกลุ่มต่าง ๆ) ตามแนวชายแดนไทย - มาเลเซีย มาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน
บุคคลที่มีความสำคัญในการร่วมกับขบวนการโจรก่อการร้ายในระยะเริ่มต้นมี เปาะสู วาแมดิซา อดีตครู รร.ประชาบาล บ.จารังตาดง ต.ท่าธง อ.รามัน จว.ยะลา มีความสัมพันธ์และสนับสนุนกลุ่มก่อการจลาจล พ.ศ.๒๔๙๑ โดยเป็น หน.หน่วยกู้ชาติ มี รอง หน. ได้แก่ เจ๊ะดอเลาะ สะอุ ได้พยายามดำเนินการปลุกปั่นยุยง และลอบสังหารผู้ที่ให้ความร่วมมือกับฝ่ายรัฐบาล จนกระทั่งต่อมา เมื่อ ๑๔ ก.ย.๒๕๐๙ เปาะสู ฯ และเจ๊ะดอเลาะ ได้เข้ามอบตัวต่อทางการ แต่ก่อนจะออกมอบตัวได้มอบหมายให้ คือเระ มาติเยาะ หรือเปาะเย๊ะ ดือเร๊ะ เป็น หน.แทน (เป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่งในการจลาจลพ.ศ.๒๔๙๑) ซึ่งต่อมาได้รับการยกย่องจากสมาชิกโจรก่อการร้ายว่า "รายาบูเก๊ะ"

๑๔ มิ.ย.๒๕๑๔ ศาลสั่งยกฟ้อง เปาะสู และเจ๊ะดอเลาะ จึงได้กลับมารวบรวมสมัครพรรคพวก เพื่อปฏิบัติการต่อ โดยตั้งฐานที่มั่นอยู่บนเทือกเขาบูโดต่อมาได้มีการโจมตี เปาะเย๊ะว่าไม่ซื่อตรงต่อขบวนการ และระหว่าง พ.ศ.๒๕๑๗ จนท.ได้เข้าทำการปราบปรามอย่างหนักทำให้สมาชิกฯ เข้ามอบตัวกับทางการเป็นจำนวนมาก รวมทั้ง เปาะสู และเจ๊ะดอเลาะ พร้อมกับสมาชิกในกลุ่มอีก ๗๗ คน (๑๘ พ.ศ.๒๕๑๘) ซึ่งการมอบตัวในครั้งนี้ ถือว่าเป็นการสูญเสียกำลังของโจรก่อการร้าย B.N.P.P. เป็นอย่างมาก

๒๗ ม.ค.๒๕๑๕ ได้มีมติของที่ประชุม "กองอำนวยการปราบปรามพิเศษเขต ๙" ให้เปลี่ยนชื่อในการเรียก "ขบวนการโจรแบ่งแยกดินแดน (ขบด.) เป็น ขบวนการโจรก่อการร้าย (ขจก.)" เพื่อผลทางด้านจิตวิทยา และการเมือง

๒๒ ก.พ. ๓๘ ได้มีคำสั่ง กอ.รมน. ให้ใช้คำว่า โจรก่อการร้ายแทนคำว่าขบวนการโจรก่อการร้ายเพื่อลดระดับความสำคัญของการก่อการร้ายลงเป็นเพียงการก่อการร้ายระดับท้องถิ่น

2 โจรก่อการร้าย กลุ่มต่างๆ

เพื่อให้สาธารณชนชาวไทยทุกมวลได้รับรู้ในการพัฒนาถึงรากเหง้าและลำดับเหตุการณ์ตลอดจนอิทธิพลภายในและภายนอกที่เป็นปัจจัยองค์ประกอบการก่อตั้งขบวนการก่อการร้ายแยกดินแดนต่าง ๆ ๕ กลุ่มสำคัญ ๆ ได้แก่
๑. BNPP – BARISAN NATIONAL PEMBEBASAN PATANI หรือ NLEP – NATIONAL LIBERATION FRONT OF PATANI : แนวร่วมปลดแอกแห่งชาติปัตตานี
๒. BRN – BERSENJATA REVOLUSI NATIONAL หรือแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี
๓. PULO – PATANI UNITED LIBERATION ORGANIZATION หรือองค์การปลดปล่อยรัฐปัตตานี
๔. GMIP – GERAKAN MUJAHIDIN ISLAM PATANI หรือกลุ่มมูจาฮีดินอิสลามปัตตานี
๕. BERSATU – BARISAN BERSATU KEMERDEKAN PATANI หรือแนวร่วมเพื่อเอกราชปัตตานี

BNPP
แนวร่วมปลดแอกแห่งชาติปัตตานี BNPP เป็นองค์กรก่อการร้ายแยกดินแดนที่ถูกสถาปนาขึ้นเมื่อห้าทศวรรษที่แล้ว จึงเป็นกลุ่มหัวรุนแรงรุ่นแรกที่มีประวัติความเป็นมาเก่าแก่ที่สุด ซึ่งมีปรัชญานโยบายชัดเจน จากรากเหง้าความคิดการแยกดินแดนห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ติดต่อกับประเทศมาเลเซีย ให้เป็นรัฐอิสระ โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ปัตตานี จึงเรียกว่ารัฐปัตตานี
โดยในปี พ.ศ.๒๔๙๐ ตวนกูมาห์มุด มะไฮยิดดิน ลูกชายลำดับที่ ๗ ซึ่งเป็นคนคนสุดท้องของพระยาวิชิตภักดี (ตวนกูอับดุลกาเดร์ กอร์มารุดิน) อดีตเจ้านครปัตตานี ซึ่งขณะนั้นหลบหนีคดีความอยู่ในมลายู ก่อนที่อังกฤษจะให้เอกราชเป็นสหพันธ์รัฐมลายู ได้ตั้งตัวเองเป็นผู้นำชาวมุสลิมปัตตานีและสืบทอดเจนารมณ์ของผู้เป็นบิดา ผู้ซึ่งปรารถนาที่จะให้ปัตตานีเป็นรัฐอิสระรัฐหนึ่ง จึงต้องโทษเป็นกบฎต่อประเทศชาติ ด้วยความหวังที่จะเป็นใหญ่เอง โดยนำเอาศาสนาเป็นกุญแจ เพราะขณะนั้นอังกฤษกำลังจะให้อิสรภาพกับมลายู โดยมีแนวคิดสำคัญของรัฐธรรมนูญ ได้แก่ การกำหนดเขตสหพันธ์เป็นรัฐต่าง ๆ เก้ารัฐ และให้สุลต่านของแต่ละรัฐผลัดกันเป็นพระราชาธิบดี พระองค์ละ ๕ ปี ซึ่งหากพระยาวิชิตภักดีสามารถสถาปนาเป็นพระราชาธิบดีแห่งรัฐปัตตานี ไม่ขึ้นอยู่กับใคร แต่จะได้รับการอุปถัมภ์จากกลุ่มประเทศมุสลิมเพื่อนบ้าน
ตวนกูมาห์มุด มะไฮยิดดัน จึงดำเนินการสืบทอดแนวคิดต่อสู้แบ่งแยกดินแดน เพื่อผลประโยชน์ของตัวเองและชาติตระกูล โดยก่อตั้งองค์กรอย่างเปิดเผย ซึ่งใช้ชื่อเป็นภาษามลายูว่า GABONGAM MELAYU PATANI RAYA หรือสมาพันธ์ชาติมลายูปัตตานี มีชื่อย่อว่า กัมปาร์ (GAMPAR) ตั้งสำนักงานใหญ่และมีสาขาที่เมืองต่าง ๆ ได้แก่ โกตาบารู, รัฐกลันตัน พื้นที่ติดต่อกับไทย รัฐเคดาห์ รัฐเปอร์ลิส เกาะปีนัง และประเทศสิงคโปร์
ในการนี้กัมปาร์ ซึ่งประกอบด้วยแกนนำหลายคน เช่น นายหะยีสุหลง โต๊ะมีนา หะยีสุหลง มินอับดุลกาเดร์ และนายอดุลย์ ณ สายบุรี อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระหว่างปี พ.ศ.๒๔๘๐ - ๒๔๘๑ ซึ่งเป็นลูกชายของพระยาสุริยะสุนทรบวรภักดี อดีตเจ้าเมืองสายบุรี ทำการชักนำให้ชาวไทยมุสลิม ผู้นำศาสนา บรรดาลูกหลานเครือญาติ และผู้ที่อยู่ในอาณัติปกครองซึ่งสูญเสียอำนาจและผลประโยชน์ทั้งหลายเข้าร่วมกับองค์กรนี้เป็นจำนวนมาก และเริ่มเคลื่อนไหวทางการเมือง ตลอดจนสามารถปลุกปั้นยุยงส่งเสริมให้มวลชนก่อความไม่สงบขึ้นในพื้นที่ภาคใต้เป็นระยะ ๆ ตั้งแต่นั้นมา
ตวนกูมาห์มุด มะไฮยิดดิน เสียชีวิตในปี พ.ศ.๒๔๙๖ และในปีต่อมานายหะยีสุหลงก็เสียชีวิตตามไปด้วย ทำให้กัมปาร์ขาดผู้นำที่เข้มแข็ง แน่วแน่ และหัวรุนแรง จึงทำให้สมาชิกที่เหลือเริ่มอ่อนแอลง จนต้องยุติการเคลื่อนไหวและล่มสลายลง แต่ในปี พ.ศ.๒๕๐๐ ยังมีความสับสนวุ่นวาย ตลอดจนกระแสสงครามของโลกเย็น เริ่มสัมฤทธิ์อิทธิพล จึงสานอุดมการณ์ต่อด้วยการรวบรวมพลพรรคหัวรุนแรงยุคเริ่มแรก จัดตั้งกลุ่มโจรก่อการร้ายแนวร่วมแห่งชาติปลดปล่อยปัตตานี อันเป็นแฟชั่นสากลนิยมเชิงรัฐศาสตร์ในการแยกตัวเป็นอิสระ เพราะในขบวนการนี้มีสมาชิกที่ผ่านการศึกษาจากอียิปต์ เช่น นายฮันนัน อุมัยดะห์ และนับว่าเป็นกลุ่มปัญญาชนกยุคแรก จึงทำให้มีการเคลื่อนไหวทั้งด้านการเมือง และการทหารซึ่งเป็นกองกำลังติดอาวุธภายใต้การบังคับบัญชาของนายดือเร๊ะ มะดีเยะ
ช่วงปฏิบัติการของแนวร่วมแห่งชาติปลดปล่อยปัตตานีมีจุดสูงสุดอยู่ในห้วงระหว่าง พ.ศ.๒๕๒๐ ทำการเรียกร้องค่าคุ้มครอง ลอบสังหารเจ้าหน้าที่บ้านเมือง และแกนนำชุมชนชาวพุทธ ตลอดจนก่อความไม่สงบ ลักษณะสงครามจิตวิทยาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
ต่อมาในเดือนกันยายนปี พ.ศ.๒๕๒๐ และปี พ.ศ.๒๕๒๗ ตวนกู อับดุลบาลาส์ ประธานองค์กรและนายเปาะเยะ ดือเร๊ะ กรรมการองค์กรเสียชีวิตตามลำดับ ทำให้ BNPP ขาดผู้นำอีกวาระหนึ่ง จึงมีสภาพตกต่ำลงทันที ประกอบกับการปราบปรามอย่างรุนแรงต่อเนื่องของเจ้าหน้าที่รัฐบาลและประชาชนผู้บริสุทธิ์ให้การสนับสนุนรัฐบาล เป็นเหตุให้องค์กรนี้สลายตัวเป็นกลุ่มย่อยที่มีความคิดพื้นฐานแตกต่างกันไปก่อตั้งกลุ่มใหม่หรือยุติอุดมการณ์เข้ามอบตัวกับทางการ
อย่างไรก็ดี ในวันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๐ นายอูซาดิงบินอับดุลสะ และอุสตาซอาชุลดินร่วมกับสมาชิกหัวรุนแรงอีก ๑๕ คน ประชุมกันที่โคตามารู เพื่อคัดเลือกตัวแทนเพื่อเข้าประชุมองค์การอิสลามที่ประเทศคูเวต และพิจารณาเปลี่ยนชื่อกลุ่มเป็นแนวร่วมอิสลามปลดปล่อยปัตตานี (BIPP – BARISAN ISLAM PEMBEBASAN PATANI) ด้วยหวังให้เป็นองค์กรอิสลามสากลตามกระแสพลวัตการต่อสู้ของอิสลามโลก
องค์กร BNPP มีผู้นำในยุคพัฒนาตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๑๓ ถึงปัจจุบันรวม ๑๐ คน ซึ่งปัจจุบันมีนายฮัมดัน เป็นประธานองค์กร มีสมาชิกประมาณ ๒๕ คน ปฏิบัติการทางการเมืองเท่านั้น แต่จะเป็นองค์ประสานงานกับกลุ่มอื่น
สรุป
โจรก่อการร้ายแนวร่วมกู้เอกราชแห่งชาติ มีชื่อเป็นภาษามาเลเซียว่า Barisan Nasional Pembebasan Pattani : B.N.P.P. หรือชื่อในภาษาอังกฤษว่า National Liberation Front of Pattani : N.L.F.P. เริ่มมีการเคลื่อนไหวปฏิบัติการระหว่าง พ.ศ.๒๔๙๐-๒๔๙๑ เป็นการร่วมก่อตั้งระหว่าง เต็งกูมามุด ฯ ได้นำเอา "ขบวนการรวมเผ่ามาลายูที่ยิ่งใหญ่" (Kumpulan Meayu Pattani Raya : Kumpra) มารวมกับกลุ่มก่อการร้ายของ เต็งกูยะลา นาเซร์ หรือนายอดุลย์ ณ สายบุรี (อ้างตนเป็นผู้นำชาวไทยมุสลิมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และทำหนังสือร้องเรียนขอความเป็นธรรมยื่นต่อนายกรัฐมนตรี เมื่อ ๑๔ ม.ค.๒๔๘๗) โดยมี หะยีสุหลง โต๊ะมีนา เป็นผู้ควบคุมการปฏิบัติในประเทศไทย เมื่อ ส.ค.๒๔๙๐ ผู้นำศาสนาอิสลามประมาณ ๑๐๐ คน ยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล ๗ ข้อ ต่อมาเมื่อ เม.ย.๒๔๙๑ เกิดการจลาจล (จลาจล ๒๔๙๑) ใน ๒ พื้นที่ (๑) บ.ดุซงญอ อ.ระแงะ จว.นราธิวาส, (๒) บ.ปะลุกาสาเมาะ อ.บาเจาะ จว.นราธิวาส บุคคลสำคัญ ฯ ที่ร่วมการจลาจลในครั้งนี้ ต่อมาได้เป็นบุคคลระดับนำของ จกร. ปัจจุบันโจรก่อการร้าย B.N.P.P. ไม่ค่อยปรากฎข่าวการเคลื่อนไหวในประเทศไทย แต่ส่วนใหญ่มีการเคลื่อนไหวอยู่ในประเทศมาเลเซีย (การเมือง) ครั้งสุดท้ายทราบข่าวว่า พยายามจะให้มีการรวมตัวกันระหว่างโจรก่อการร้าย B.N.P.P., P.U.L.O., B.R.N. เพื่อจัดตั้งเป็นขบวนการมูจาฮิดีนปัตตานี Barisan Bersatu Mujahidin Pattani : B.B.M.P.
โจรก่อการร้าย B.B.M.P. (มูจาฮิดีนปัตตานี) ประมาณ พ.ศ.๒๕๒๖ ขบวนการโจรก่อการร้ายกลุ่มต่าง ๆ ถูกกดดันทางทหารอย่างรุนแรงจนบางกลุ่มต้องสลายตัว ยุติการเคลื่อนไหว ระดับนำ/ฝ่ายบริหาร จึงจัดประชุมประสานงานร่วมมือกันในประะเทศมาเลเซีย เพื่อความอยู่รอด และผลประโยชน์ร่วมกันของ B.R.N., P.U.L.O. และ B.N.P.P. โดยให้ P.U.L.O. เป็นแกนนำ
ก่อตั้งขึ้นเมื่อ ๖ ธันวาคม ๒๕๒๘ ในครั้งแรกมีคณะกรรมการบริหารดังนี้
ประธาน (B.R.N.) - หะยีอามีน โต๊ะมีนา
รองประธาน - อุสตาคหะยีอับดุลเลาะมาน อัลมุฟตี้/
โต๊ะครู พ่อมิ่ง
รอง/ธุรกิจ/ศาสนา (B.N.P.P.) - หะยีแวหะมะ บินหะยีแวยูโซ๊ะ
รอง/กองกำลังติดอาวุธ (B.R.N.) - อุสตาคหะยีอับดุลการิม บินอัสซัน
ฝ่ายทหาร (B.N.P.P.) - บ๊อราเฮง กูทาย/ขนส่ง
เลขา ฯ (P.U.L.O.) - ตวนกูบีรอกอตอนีรอ/หะยีอับดุลเลาะมาน
ฝ่ายการเงิน (B.R.N.) - หะยีอามีน โต๊ะมีนา
ฝ่ายการข่าว (เลขา รมต.คมนาคม มซ.) - หะยีฮัดรอบี บินหะยีอับดุลเลาะมาน
เหรัญญิก - หะยีสุดิง อับดุลสาและ (น้องชายนายหะยี
ศิริ อับดุลสาและ นายกเทศมนตรี อ.เมือง จว.นราธิวาส
กำลังติดอาวุธ ประมาณ ๗๐ คน แต่งกายด้วยเครื่องแบบสีดำ หรือเขียว ใช้หมวกเบเร่ต์สีดำฝึกเบื้องต้นที่รัฐปาหัง ประเทศมาเลเซีย ๓ เดือน ฝึกการรบชั้นสูง "มูจาฮิดีน" ประเทศปากีสถาน ๓๐ คน (เดินทางไป ๑๗ ก.ค.๒๘) ฝึกที่ประเทศลิเบีย ๔๐ คน หลักสูตร ๑ ปี ๖ เดือน(เดินทางไป ๖ ก.ค.๒๘)
เบื้องหลังการก่อตั้ง "มูจาฮิดีนปัตตานี" จากการวิเคราะห์ปัญหา เพราะความล้มเหลว ความผิดพลาดจากการบริหารในการต่อสู้ สมาชิกมีความขัดแย้ง และแตกความสามัคคีด้วยเรื่องผลประโยชน์ส่วนตัว ทำให้กลุ่มประเทศมุสลิมที่สนับสนุนขาดความเชื่อถือ ดังนั้นเพื่อให้เกิดความเข้มแข็งใหม่จึงมีการรวบรวมสมาชิกจากขบวนการต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เพื่อตั้งเป้าหมายในการต่อสู้เพื่อแบ่งแยกดินแดนใหม่โดยใช้คำว่า "อัลเลาะห์ ฮูอักบต" (อัลเลาะห์ผู้ทรงเกรียงไกร) และจะเน้นการต่อสู้เพื่อศาสนาอิสลาม


(๑) การก่อตั้งโดย อดีตทายาทเจ้าเมือง และเชื้อสายของผู้ปกครองที่ต้องสูญเสียอำนาจเป็นการรวมตัวระหว่าง "ขบวนการรวมเผ่ามาลายูที่ยิ่งใหญ่" กับ เต็งกูยะลา นาเซร์ หรือ นายอดุลย์ ณ สายบุรี ก่อตั้งขึ้นระหว่าง พ.ศ.๒๔๙๐-๒๔๙๑
(๒) นโยบาย แนวขวาอนุรักษ์นิยม
(๓) การปกครองเมื่อแบ่งแยกดินแดนจังหวัดปัตตานี, ยะลา, สตูล, นราธิวาส และสงขลาบางส่วนได้แล้ว จะตั้งเป็นรัฐอิสระ โดยมีสุลต่านเป็นประมุข
(๔) ปัจจุบันไม่มีข่าวปฏิบัติการทางด้านการทหารในประเทศไทย คงมีการเคลื่อนไหวทางด้านการเมืองในประเทศมาเลเซียเท่านั้น

BRN
แนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตาตานี (BRN) ก่อตั้งโดยกลุ่มทายาทขององค์กร BNPP ซึ่งเมื่อไม่สามารถดำรงอุดมการณ์พื้นฐานได้ตลอดรอดฝั่ง จึงแยกตัวออกมาตั้งเป็น BRN เมื่อวันที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ.๒๕๐๓ โดยมีนายหะยีอามีน โต๊ะมีนา ลูกของนายหะยีสกุหลง โต๊ะมีนา พร้อมด้วยนายหะยีอับดุลการิม มินฮัสซัน เป็นหัวหน้าปฏิบัติการด้านการเมืองอย่างลับ ๆ ในประเทศไทย แต่ต่อมากลับใช้ความรุนแรงของสงครามก่อการร้าย ด้วยการวางแผนจับตัวผู้ว่าราชการและผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดปัตตานี ในวันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ.๒๕๐๔ อันเป็นวันตรุษสำคัญทางศาสนาอิสลาม ฮารีรายอ เพื่อสร้างวีรกรรมชักนำแนวร่วมอื่น ๆ ที่มีนโยบายแยกดินแดนแต่ภารกิจล้มเหลว เนื่องจากเจ้าหน้าที่บ้านเมืองได้เบาะแสรู้ทัน จึงสกัดแผนนี้ได้ ตลอดจนจับกุมผู้นำพร้อมด้วยพลพรรคร่วมภารกิจ รวม ๗ คน ดำเนินคดี แต่ถูกปล่อยตัวในปี พ.ศ.๒๕๐๘ ทำให้ BRN สามารถดำเนินการทางการเมืองได้อีกโดยมีศูนย์กลางอยู่ที่รัฐกลันตัน จนในปี พ.ศ.๒๕๑๑ สามารถระดมพลและสะสมอาวุธยุทโธปกรณ์จำนวนหนึ่งจัดตั้งเป็นหน่วยปฏิบัติการทางทหาร มีชื่อเรียกว่า แอ๊บริป – ABRIP : ANGKATAN BERSENJATA REVOLUSI ISLAM PATANI ขึ้นเมื่อ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๑๑ โดยยึดถือเทือกเขาบูโด จังหวัดนราธิวาสเป็นฐานที่มั่น และแบ่งเขตปฏิบัติการเป็น ๓ เขต คือ เขตอำเภอศรีสาคร นราธิวาส เขตเทือกเขาบูโด และเขตอำเภอสุไหงปาดี อำเภอแว้ง นราธิวาส
ครั้นปี พ.ศ.๒๕๑๓ เกิดความแตกแยกทางอุดมการณ์ในนโยบายการทหารและการเงิน ระหว่างนายอดุลย์ ณ สายบุรี กับนายวันมูฮัมหมัดรอฟี เป็นเหตุให้มีการแบ่งกองกำลังติดอาวุธเป็น ๒ กลุ่ม ซึ่งกลุ่มแรกนำโดยเป๊าะเยะ ขึ้นตรงกับนายอดุลย์ ณ สายบุรี ซึ่งต่อมาไม่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากนอกประเทศ และผู้นำเสียชีวิต กลุ่มนี้จึงสลายตัวไปในที่สุด ส่วนกลุ่มที่ ๒ ได้แก่ กลุ่มเปาะบุสตามัน ขึ้นกับการบังคับบัญชาของนายวันมูฮัมหมัดรอฟี ซึ่งสามารถขยายกำลังและขยายพื้นที่ปฏิบัติการครอบคลุม จังหวัดปัตตานี และนราธิวาส
การพัฒนาองค์กรของ BRN มีทั้งบวกและลบ เพราะตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๐ มีการแตกแยกภายในองค์กรเป็นครั้งที่ ๒ เนื่องจากรัฐธรรมนูญ BRN ปี ๒๕๑๘ ให้อำนาจกับเลขาธิการองค์กรมากกว่าประธานองค์กร จึงมีการแย่งอำนาจการปกครองบังคับบัญชา
วิวัฒนาการของ BRN ในห้วงปี พ.ศ.๒๕๒๐ถึงปัจจุบัน มีการแย่งชิงอำนาจภายในองค์กร
อย่างต่อเนื่อง จนทำให้เกิดองค์กรย่อยภายในขึ้นหลายกลุ่ม เช่น คณะกรรมการฝ่ายประสานงานเรียกว่า MAJLIS KORDINAS ซึ่งรู้จักกันทั่วไปว่า BRN – COORDINATE แต่จะไม่พยายามที่จะมีบทบาททางทหารในประเทศไทย ดังนั้น BRN มักจะไม่ค่อยปรากฎบ่อยครั้งนัก
เพราะกลุ่มนี้เน้นบทบาททางการเมือง และนายหะยีอามีน โต๊ะมีนา เสียชีวิตลงด้วยโรคหัวใจล้มเหลว เมื่อ ๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๔ ที่ประเทศมาเลเซีย แต่ได้มีการทำพิธีฝังศพทางศาสนาที่สุสานกูโบร์โต๊ะอาเยาะห์ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ปัจจุบันยังไม่ปรากฎผู้นำคนใหม่

สรุป
โจรก่อการร้ายขบวนการปฏิวัติแห่งชาติ มีชื่อภาษามาเลเซีย ว่า Barisan Rivolusi Nasional Melayu Pattani : B.R.N. เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๓ โดยนายหะยีอามีน โต๊ะมีนา บุตรชายของ หะยีสุหลง โต๊ะมีนา เป็นผู้สืบทอดอุดมการณ์ระหว่าง พ.ศ.๒๕๑๐ ได้จัดพิมพ์หนังสือ "รวมแห่งสันติ" เผยแพร่อุดมการณ์ของบิดา จนกระทั่งประมาณ ต.ค.๒๕๐๓ ได้จัดตั้งหน่วยกู้ชาติตามแนวทางของ เปาะจิกาเข็ม หน.กบฏเปาะจิกา โดยร่วมกับตวนกูยะลา นาเซร์ ซึ่งแยกตัวมาจากขบวนการ B.N.P.P. จัดตั้งเป็นขบวนการปฏิวัติแห่งชาติ Barisan Rivolusi Nasional Melayu Pattani ได้กำหนดแผนการก่อความไม่สงบในวันฮารีรายอ ๑๘ มี.ค.๒๕๐๘ โดยจะจับตัวผู้ว่าราชการจังหวัด, ผู้กำกับการตำรวจในระหว่างการอวยพร แต่ จนท.สืบทราบพฤติการณ์ก่อน จึงได้จับกุมตัว หะยีอามีนฯ พร้อมพวก ๗ คน มาดำเนินคดีที่กรุงเทพฯ จนถึงปลายปี พ.ศ.๒๕๐๘ จึงปลดปล่อยตัว ปัจจุบันมีข่าวสารว่า หะยีอามีน โต๊ะมีนา ได้รับตำแหน่ง หน.ขบวนการมูจาฮิดีนปัตตานี และ หน.โจรก่อการร้าย B.R.N.ในปัจจุบัน คือ อุสตาการิม บินหะยีฮัดซัน ขบวนการนี้ ปัจจุบันมีการเคลื่อนไหวทางด้านการเมืองการทหารทั้งในประเทศไทยและมาเลเซีย

โครงสร้างการจัดกลุ่ม B.R.N.
บก.กองกำลังติดอาวุธ
ประสานงานต่างประเทศ
ประสานงานภายใน มซ.
ฝ่ายการเมือง
ฝ่ายเศรษฐกิจ
ฝ่ายการข่าว
ฝ่ายการทหาร
ฝ่ายการศึกษา/ศาสนา
ฝ่ายก่อวินาศกรรม
บก.กองกำลังติดอาวุธ
บก.ย่อย เขต ๑
พื้นที่เคลื่อนไหว จว.ยะลา

บก.ย่อย เขต ๒
พื้นที่เคลื่อนไหว จว.นธ.

บก.ย่อย เขต ๓
พื้นที่เคลื่อนไหว จว.ปัตตานี




- หน. บาตื้อเร๊ะ/โต๊ะยะหา - หน. เชาะเลาะ แจ๊ะมุ/เจ๊ะมุ - หน. เปาะยะลา/นาฮารุดดิน
แย่งแก่ง โต๊ะยาลา - รองฯ สะมะแอ/เปาะยูไผ่มัน
- รองฯ ฮามิ/ฮามะ/จูยี ปูสากาชิง - รองฯ เจ๊ะกูฮะ เชาะกอฮา - รองฯ กอเดร์ แกแดะ/เปาะรูดอ
- กำลัง ประมาณ ๗๐ คน - รองฯ ตึง กูแบสาลอ - กำลัง ประมาณ ๒๕-๓๐ ตน
๑. กลุ่ม โต๊ะแชบง/บงคือเร๊ะ - กำลัง ประมาณ ๑๐๐-๑๑๐ คน ๑. กลุ่ม เปาะยะลา มาฮารุดดิน
๒. กลุ่ม ฮามิ/ฮามะ/จูยี ปูลากาชิง ๑. กลุ่ม เปาะเลาะ เจ๊ะมุ/ ๒. กลุ่ม สะมะแอ/เปาะลายู ไผ่มัน
๓. กลุ่ม เจ๊ะมุ รือเสาะ เจ๊ะมุ โต๊ะนาลา ๓. กลุ่ม กอเดร์ แกดะ/เประรูดอ
๔. กลุ่ม ตอรอยะ อาแว/วาทอง ๒. กลุ่ม เจ๊ะกูฮะ/เชาะกอฮา
๕. กลุ่ม รอนิง/มอฮา รานอ ๓. กลุ่ม ตึง กูแบสาลอ
๔. กลุ่ม มะ สุไหงมาตู
๕. กลุ่ม อาดีฮะ โต๊ะนาลา
๖. กลุ่ม รอนิง เลาะวา/เปาะยู
๗. กลุ่ม เจ๊ะอารง จากั้ว
(๑) การก่อตั้งโดย หะยีอามีน โต๊ะมีนา บุตรชายหะยีสุหลง โต๊ะมีนา ร่วมกับตวนกูยะลา นาเซร์ หรือนายอดุลย์ ณ สายบุรี (แยกตัวมาจาก ขบวนการ B.N.P.P.) ก่อตั้งเมื่อประมาณ ต.ค. ๒๕๐๓
(๒) นโยบาย แนวสังคมนิยม
(๓) การปกครอง เมื่อแบ่งแยกดินแดนจังหวัดสงขลาบางส่วน, สตูล, ยะลา, ปัตตานี, นราธิวาส ได้แล้ว จะจัดตั้งเป็นรัฐอิสระ โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข

PULO
องค์การปลดปล่อยรัฐปัตตานีหรือ องค์การสหปัตตานีเสรี – PULO ก่อตั้งเมื่อ ๒๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๑ โดยนายตวนกูบีรอ กอตอนนีรอ หรือ อดุลย์ ณ วังคราม หรือ กาบีร์ อับดุลเราะห์มาน เริ่มแนวคิดที่ตกทอดจากอดีตของความผิดพลาดของข้าราชการในการจัดการปกครองที่สร้างเงื่อนไขในการจัดการปกครองที่สร้างเงื่อนไขในลักษณะแบ่งแยกชนชาติและศาสนา จนถึงขนาดที่พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงกำหนดพระราโชบายการจัดข้าราชการจากส่วนกลางที่ต้องไปรับราชการให้มีความยุติธรรมและให้สามารถปรับตัวร่วมทุกข์สุขกับประชาชนในเมืองปัตตานีให้กลมกลืน แต่การเปลื่ยนแปลงทางสังคมเศรษฐกิจและการเมืองที่สอดแทรกจากภายนอกทำให้วิถีการปฏิบัติตัวของข้าราชการไม่สามารถทำให้มวลชนมุสลิมปัตตานีมีความสงบทางจิตใจได้ความคับแค้นที่ฝังรากลึก หมักหมม ซึ่งสามารถผนวกเข้ากับความน้อยใจของตระกูลผู้ครองนครภาคใต้ในอดีตที่ถูกเบียดบังแนวทางพัฒนาท้องถิ่นและความดีอื่น ๆ ประกอบกับไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่จากศูนย์อำนาจส่วนกลางจนความไม่ทราบถึงพระเนตรพระกรรณ ทำให้ขาดการพัฒนาภูมิภาคและการปูนบำเหน็จ ตามที่สมควรแก่ฐานะและความเป็นจริง
ประกายไปความคับแค้นจึงง่ายแก่การจัดตั้งองค์เพื่อแสวงประโยชน์ของกลุ่ม ทั้ง ๆ ที่ส่วนรวมชาวมุสลิมยังมีความเป็นอยู่ที่ดีและใช้ชีวิตกลมกลืนกับชาวไทยศาสนาอื่น ๆ ได้มาแต่โบราณกาล ดังนั้นด้วยประสบการณ์ขององค์กรแนวร่วมแยกดินแดนที่เกิดขึ้นก่อนหน้านั้น เป็นปัจจัยทำให้องค์กรปลดปล่อยรัฐปัตตานี – PULO เป็นองค์กรที่ถูกจัดตั้งขึ้นสมบูรณ์แบบกว่าองค์กรอื่น ๆ เพราะมีการร่างรัฐธรรมนูญปกครองฉบับปี พ.ศ. ๒๕๑๑ และจัดหาแนวร่วม สมาชิกและองค์กรสนับสนุนไว้ได้หลายหน่วยสาขาทั้งในราชอาณาจักรและต่างประเทศ
แนวความคิดนโยบายเบื้องต้นในการดำเนินการขององค์กรจะมุ่งเน้นหนักในการต่อสู้ทางการเมืองด้วยการปลุกระดมมวลชนลักษณะจิตวิทยา โฆษณาชวนเชื่อ เพื่อแสวงหาแนวร่วมและสมาชิก ซึ่งเป้าหมายหลักได้แก่ กลุ่มผู้นำศาสนาและผู้นำท้องถิ่นตลอดจนกลุ่มปัญญาชนหัวใหม่ที่สามารถผสมผสานความคิดทางการเมืองและปรัชญาศาสนาเข้าด้วยกันอย่างแนบเนียน
เนื่องจากสมาชิกเป็นชนรุ่นใหม่และมีวิสัยทัศน์เกี่ยวกับโลกาภิวัตน์ทำให้ PULO สามารถประสานกับองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ – PLO ได้ในปี พ.ศ. ๒๕๑๗ ประเทศซีเรีย ในปี พ.ศ. ๒๕๑๙ ประเทศลิเบีย ในปี พ.ศ. ๒๕๒๐ และอีกหลายประเทศมุสลิมในตะวันออกกลางในปีต่อ ๆ มา
เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปในกลุ่มแนวร่วมขององค์กรต่าง ๆ ที่มีนโยบายแยกดินแดน ๕ จังหวัดภาคใต้ ว่า PULO เป็นกลุ่มขบวนการผู้อยู่เบื้องหลังและรับผิดชอบการชุมนุมใหญ่ของชาวไทยมุสลิมในปี พ.ศ.๒๕๑๘ ซึ่งขณะนั้นรัฐบาลไทยกำลังอยู่ในห้วงสูงสุดของสงครามอุดมการณ์กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ซึ่งการชุมครั้งนั้นเป็นการประท้วงการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่บ้านเมืองในการปราบปรามขบวนการโจรก่อการร้ายที่ PULO อ้างว่ารุนแรงเกินเหตุจึงใช้ประเด็นนี้เป็นแกนนำกลุ่มพิทักษ์ประชาชนเรียกร้องความเป็นธรรม และสามารถทำให้ PULO ใช้เป็นข้ออ้างตอบโต้รัฐด้วยความรุนแรงลักษณะเลียนแบบกลุ่มก่อการร้ายในไอร์แลนด์เหนือ – IRA ซึ่งเป็นครู การประกอบระเบิดแสวงเครื่องชนิดต่าง ๆ ของกลุ่มผู้ก่อการร้ายในตะวันออกกลาง เช่น องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ – PLO จนในปี พ.ศ. ๒๕๑๙ PULO สามารถจัดหาสมาชิกได้เป็นจำนวนมาก จึงมีการจัดเป็นกองกำลังติดอาวุธต่อสู้กับกองกำลังรัฐบาลได้
ดังนั้นจึงมีชนชั้นผู้นำที่เป็นผู้มีอิทธิพลในสังคม ซึ่งไม่ได้รับทราบก้นบึ้งข้อเท็จจริงแต่โน้มเอียงลักษณะกระแสปฏิบัตินิยม เช่น ผู้นำศาสนา ครู และบุคคลที่มีคนย่ำเกรง เข้าเป็นสมาชิกเป็นจำนวนมาก แต่ต่อมาก็ถูกจับกุมและให้มอบตัวต่อทางการหลายคนเช่น นายหะยียูโช๊ะ ปากีสถานอดีตประธาน PULO มอบตัวเมื่อ ๒๕ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๕ และนายหะยีบือโด เบตง อดีตครูสอนศาสนาในอำเภอเบตง จังหวัดยะลา ซึ่งเป็นอดีตประธาน PULO ใหม่ด้วยถูกจับกุม เมื่อวันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๑
ห้วงเวลาที่องค์การ PULO ปฏิบัติการสูดสุดตั้งแต่กลางปี พ.ศ. ๒๕๑๙ เป็นต้นมาจนถึง พ.ศ. ๒๕๒๕ โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้มีการคัดเลือกเยาวชนมุสลิมจาก ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้จำนวนหนึ่งเพื่อส่งไปฝึกการก่อการร้ายที่ประเทศลิเบียและซีเรีย ซึ่งทำให้ได้รู้จักกับผู้เข้าร่วมฝึกจากประเทศมุสลิมอื่น ๆ ด้วยเช่นครูฝึกและผู้รับการฝึกการวางระเบิดจากองค์กรกู้ชาติไอริช – IRA องค์การโมโรแห่งฟิลิปปินส์ และองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ – PLO เป็นต้น
ครั้นเมื่อกลับคืนสู่ภูมิลำเนาแล้ว ก็ประกอบอาชีพปกติ เพื่อรอการเรียกตัวเมื่อ PULO ได้รับเงินสนับสนุนจากต่างประเทศแต่บ้างส่วนก็เข้าร่วมกิจกรรมกับขบวนโจรก่อการร้ายทันที เพราะมีอุดมการณ์สูง และมีบทบาทสำคัญในองค์การ PULO เช่น นาย หะยีดาโอ๊ะ ท่าน้ำ ซึ่งถูกจับกุมเมื่อ ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๕ และ เจ๊ะกูดือบัน ที่เสียชีวิตเมื่อ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๓เป็นต้น


การปฏิบัติการทางการเมือง และการใช้กำลังต่อสู้รัฐของ PULO ภายใต้การนำของตอนกูบีรอ กอตอนีรอ เลขาธิการองค์การในห้วงนี้ มีความเข้มแข็งมากในหลายพื้นที่ ซึ่งแยกประเภทการปฏิบัติได้ดังนี้
๑. การจับครูและข้าราชการ เพื่อข้อแลกเปลี่ยนทางการเมืองและเรียกค่าไถ่
๒. การโจมตีสถานีตำรวจ และสถานที่ราชการ เพื่อสร้างความหวาดกลัวให้กับประชาชนและข้าราชการครู
๓. การวางระเบิดสถานที่สาธารณะหลายแห่งในภูมิภาคและ กทม. เช่น สถานีรถไฟ
๔. การวางระเบิดสนามโรงพิธีช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา
อย่างไรก็ดี ความเหิมเกริมของ PULO เป็นอันตรายต่ออำนาจรัฐและความผาสุกของประชาชนทุกหมู่เหล่า ไม่ว่าจะมีวัฒนธรรมอะไรก็ตาม จนทำให้รัฐบาลต้องดำเนินการปราบปรามด้วยกำลังอาวุธอย่างรุนแรงต่อเนื่องจริงจัง และกดดันทางการเมืองทั้งภายในและภายนอกประเทศ โดยหยิบยกประเด็นความอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ระหว่างชนชาติที่ต่างลัทธิศาสนามาแต่อดีตกาลของไทย ทำให้หลายประเทศมุสลิมยุติการสนับสนุน PULO จนเป็นเหตุสำคัญทำให้สมาชิกชั้นผู้นำจำนวนมาก ต้องหลบหนีออกจากป่าลี้ภัยไปอยู่เมืองชายแดนในประเทศมาเลเซีย แต่ต่อมาก็เข้ามอบตัวต่อทางการเป็นจำนวนมาก เพื่อหันมาใช้กลไกทางการเมืองที่เป็นธรรมตามแนวคิดร่วมระหว่างองค์กรก่อการร้ายกับรัฐบาลและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ซึ่งเป็นผลให้สมาชิกระดับผู้นำเกิดความขัดแย้งเกี่ยวกับการบริหารองค์การและผลประโยชน์ที่ได้จากสังคมในอดีต เช่นการเรียกร้องค่าคุ้มครองหรือเงินบำรุงท้องถิ่นเป็นต้นจนถึงขนาดมีการวางแผนโค่นล้มอำนาจของนายตวนกูปีรอกอตอนีรอจนต้องลาออกในวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๘
กลุ่มผู้นำ PULO ใหม่ ได้เปลี่ยนแปลงยกเลิกการบริหารองค์กรจากระบบเดิม ที่มีเลขาธิการเป็นผู้นำ เป็นระบบสภาชี้นำการปฏิบัติและแก้ไขธรรมนูญองค์กร ปี พ.ศ. ๒๕๑๑ ด้วย จึงเป็นเหตุให้นายหะยีสะมะแอ ท่าน้ำ ผู้บัญชาการกองกำลังติดอาวุธ ซึ่งสนับสนุนเลขาธิการองค์กรคนเดิมไม่พอใจและแยกตัวออกจาก PULO มาจัดตั้งสภาบัญชาการกองทัพพูโล – MAJLIS PEMERINTAHAN TENTERA PULO – MPTP ไม่ขึ้นกับสภาชี้นำการปฏิวัติฝ่ายการเมืองตลอดจนเรียกร้องให้ฝ่ายการเมืองยึดถือธรรมนูญ ปี พ.ศ. ๒๕๑๑ เป็นหลัก แต่ไม่มีข้อยุติในการแก้ปัญหาในองค์การได้ ทำให้ ดร.ฮารง อเมริกา ลาออกจากตำแหน่งประธานสภาชี้นำการปฏิวัติ พร้อมกับแต่งตั้งให้นายยูโซ๊ะ บินสุหลง หรือ นายยุโซ๊ะ ปากีสถาน รักษาการแทนชั่วคราวจนถึงปี พ.ศ. ๒๕๓๒
NEW and OLD PULO
จนในวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๒ นายหะยีสะมะแอ ท่าน้ำได้นำกองกำลังติดอาวุธประกาศแยกตัวออกจากสภาชี้นำปฏิบัติอย่างเป็นทางการ จึงทำให้ PULO แยกเป็น ๒ กลุ่ม
๑. กลุ่ม ดร.ฮารง อเมริกา จัดตั้ง PULO ใหม่ พร้อมกับยกร่างธรรมนูญ ปี พ.ศ. ๒๕๓๒ ใหม่ และเปลี่ยชื่เป็น PERTUBUHAN PERSATUAN PEMBEBASAN PATNI – PPPP
๒. กลุ่มหะยีสะมะแอ ท่าน้ำ จัดตั้งเป็นสภาบัญชาการกองทัพพูโล
ในวันที่ ๒๑ - ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๘ PULO กลุ่มใหม่ได้มีการจัดประชุมใหญ่สามัญที่บาไล
เซมิเนอร์ ตึก เบนดิดิกัน เมอร์นี เมืองกัวลาลัมเปอร์ รัฐสลังงอร์ มีนาย ฮัจยีฮาซัน เป็นประธานการประชุม มีสมาชิกเข้าร่วมประชุม ๖๐ คน
ข้อยุติให้นายหะยีฮาเซ็ม อับดุลเราะห์มาน หรือหะยีบือโดเบตงเป็นประธาน PULO ใหม่ แทนนายฮารง มูเล็ง แต่ก็เป็นเชื้อเพลิงเพิ่มเติมจน PULO ไม่สามารถคงสภาพเดิมไว้ได้ จนต้นปี พ.ศ. ๒๕๔๑ กลุ่มผู้นำ – PULO เก่าและ PULO ใหม่ ถูกเจ้าหน้าที่บ้านเมืองจับกุมรวม ๔ คน ซึ่งปัจจุบันอย่างในระหว่างการพิจารณาคดีในชั้นศาลที่ กทม.
ในปี พ.ศ. ๒๕๔๓ สมาชิกกองกำลังติดอาวุธระดับผู้นำขบวนการโจรก่อการร้ายปะทะกับเจ้าหน้าที่ทางการจนเสียชีวิตหลายคน เช่น ยูโซ๊ะ บูเก๊ะ ตาเนาะ เจ๊ะกูจาดือมันสา และละวี ตะโล๊ะมีญอ มะแอ โต๊ะเพียร ทำให้เกิดความระส่ำระสายในกองกำลังติดอาวุธในป่า เป็นผลให้สมาชิกระดับผู้นำเร่งดำเนินการประชุมหารือปรับแผนการปฏิบัติมุ่งเน้นงานด้านมวลชน และการปลุกระดมมากยิ่งขึ้น พร้อมกับได้จัดตั้งสมาชิกที่มีความรู้ความสามารถมาทดแทนเพื่อปฏิบัติงานเชิงการเมืองระดับสากลได้ต่อเนื่อง
จนในปี พ.ศ. ๒๕๔๕ จากขบวนการโจรก่อการร้ายสูญเสียกำลังพลเป็นอันมาก โดยเฉพาะในห้วง ปี พ.ศ. ๒๕๔๒ - ๒๕๔๓ ทำให้กองกำลังติดอาวุธ PULO เก่า ใหม่ในประเทศไทย ซึ่งมีอยู่จำนวนจำกัด และเคลื่อนไหวอยู่ในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส จนเกือบหมดสภาพกำลังรบ จึงได้ขอเข้าร่วมกับองค์การแยกดินแดนภาคใต้อื่น ๆ เช่น แนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี – BRN และกลุ่มโจรมูจาฮีดินอิสลามปัตตานี –GMIP ดำเนินการก่อการร้ายอย่างต่อเนื่องหลายครั้ง ต่างวาระในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ เพื่อสร้างชื่อเสียงและอิทธิพล แต่ประเด็นสำคัญ ว่า การปฏิบัติการทางยุทธวิธีของขบวนการโจรก่อการร้ายได้แปรเปลี่ยนไป โดยรูปแบบกลยุทธ์ใหม่กำหนดเป้าหมายเพื่อสร้างความปั่นป่วน แตกแยก และสร้างความหวั่นวิตกให้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นสำคัญ
ซึ่งในปัจจุบันเหตุการณ์เชิงอุดมการณ์กลมกลืนกับเหตุการณ์อาชญากรรมที่อำพรางเพื่อชี้นำให้เป็นเหตุการณ์อุดมการณ์การเมือง จนสร้างความสับสนทั้งภาครัฐ ภาคสื่อและประชาชน
ขบวนการ พูโลใหม่ หรือ กาสดาน อาร์มมี่ ที่มีตราสัญลักษณ์รูป "กริชไขว้ดาบ" เป็นขบวนการก่อการร้ายที่แตกหน่อมาจากกลุ่มพูโลเก่า ที่ก่อตั้งขึ้นโดย หะยีอัลดุล บาโซ หรือหะยีอับดุลเลาะมา บาโซ เมื่อปี ๒๕๑๘ ซึ่งเคยเข้ารับการอบรมเกี่ยวกับนโยบายแนวทางปฏิบัติกับสมาชิกพูโลในช่วงศึกษาอยู่ในประเทศซาอุดีอาระเบีย เคลื่อนไหวด้วยหาสมาชิกครั้งแรกในพื้นที่บ้านสามแยกราโมง ต.ยะรม อ.เบตง (ยะลา) และพื้นที่ใกล้เคียง จากนั้นก็จัดตั้งโรงเรียนสอนศาสนาเถื่อนเพื่อดึงเยาวชนเป็นแนวร่วมพร้อม ๆ กับมีข่าว หะยีอับดุล มาโซ เดินทางไปพบผู้นำพูโลที่ประเทศซาอุดีอาระเบียอยู่หลายครั้ง กระทั่งประมาณปลายปี ๒๕๒๒ ก็มีข่าวออกมาว่า สมาชิกกลุ่มได้รับการฝึกวิชาทหารเพิ่มด้วย จนถึงปี ๒๕๒๓ มีข่าวระบุว่า ขบวนการดังกล่าวได้จัดตั้งกองกำลังติดอาวุธและตั้งค่ายในเขตประเทศมาเลเซีย ที่บ้านบ่อน้ำร้อน อ.โกร๊ะ รัฐเปรัค พร้อมอาละวาดจับตัวเรียกค่าไถ่เรียกค่าคุ้มครอง ก่อกวนในพื้นที่ภาคใต้จนถูกฝ่ายบ้านเมืองส่งกำลังเข้าไปปราบปราม
ต่อมาภายหลังเกิดการแตกแยกขึ้นในพูโล และขบวนการพูโลใหม่ภายใต้บังคับบัญชาอง หะยีดาโอ๊ะ ท่าน้ำ ได้ฉีกรัฐธรรมนูญพูโลฉบับเก่าทิ้งอย่างไม่ไยดี แล้วร่าง "รัฐธรรมนูญพูโล" ขึ้นใหม่เป็นของตัวเอง กำลังรบภายใต้ผืนธงสัญลักษณ์กริชไขว้ดาบของ "กาสดาน อาร์มมี่" ยังแยกออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ หลายกลุ่ม แต่กลุ่มที่ออกมาเคลื่อนไหวชัดเจนระหว่างเดือนตุลาคม ๒๕๓๘-๒๕๓๙ คือ กลุ่มสะรี ตะโละมีญอ และกลุ่มโต๊ะกูแอ แรมโบ้ เคลื่อนไหวอยู่บริเวณรอยต่อ ต.ช้างเผือก อ.จะแนะ กับ ต.ศรีสาคร อ.ศรี- สาคร จ.นราธิวาส
อีก ๒ กลุ่มหลัง คือ กลุ่มมาโซ ดาซาแยะ และกลุ่มอาดือนัง เคลื่อนไหวในเขตพื้นที่ อ.เบตง จ.ยะลา ส่วน "กล่องดวงใจ" ตำแหน่งที่เทียบชั้นระดับแม่ทัพคือ ตำแหน่งผู้บัญชาการกองกำลังติดอาวุธกาสดาน อาร์มมี่นั้น มี นายเจ๊ะมูดอ ตะมะยุง เป็นผู้ดำรงตำแหน่ง โดยมีขุมกำลังที่ขึ้นตรง ประกอบด้วย หัวหน้ากลุ่มย่อย สมาชิกแนวร่วมปฏิบัติการในเมืองและบรรดานักรบระดับลูกแถว
สรุป
โจรก่อการร้ายองค์การปลดแอกแห่งชาติปัตตานี หรือ Pattani United Liberation Opqanization : P.U.L.O. หรือ Pertubohan Persatuan Pembebasan : P.P.P.P. เมื่อประมาณ พ.ศ.๒๕๐๕ มีชาวมุสลิมประมาณ ๒,๐๐๐ คน ซึ่งเดินทางจากประเทศไทย และมาเลเซียไปแสวงบุญที่กรุงเมกกะประเทศซาอุดิอารเบีย ได้ประชุมจัดตั้งสมาคมขึ้น ๒ สมาคม คือ (๑) สมาคมนักศึกษาหนุ่ม (อาดู) มีชาวไทยมุสลิมเป็นประธาน และเลขาธิการ, (๒) สมาคมปัตตานีรวมซาอุดิอารเบีย มีชาวซาอุดิอารเบีย (เคยอยู่ จว.ปัตตานี) เป็นประธาน และชาวมาเลเซียเป็นเลขาธิการ ได้กำหนดนโยบายเพื่อแบ่งแยกดินแดน ๔ จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยทั้งโดยสันติวิธี และใช้กำลังอาวุธ จนกระทั่ง พ.ศ.๒๕๑๑ จึงมีการรวมตัวกันระหว่าง ๒ สมาคมข้างต้นเป็นผลสำเร็จ และตั้งชื่อใหม่ว่า Pattani United Liberation Organization : P.U.L.O. หรือ Pertu Bohan Persatuan Pembebasan Pattani : P.P.P.P. มีตวนกูบีรอ กอตอนีรอ หรือกูบีรอ ณ วังคราม เป็นประธาน สมาชิกส่วนใหญ่เมื่อเดินทางกลับเข้าประเทศไทย ได้ทำการเคลื่อนไหวในรูปกลุ่มพลังมวลชน มีการเดินขบวนเรียกร้องหลายครั้ง โดยเฉพาะระหว่าง ๑๘ ธ.ค.๒๕๑๘ - ๑๔ ธ.ค.๒๕๑๙ ที่ จว.ปัตตานี ประธานของขบวนการคนปัจจุบัน คือ หะยียูโซ๊ะ บินสุหลง หรือหะยี่ยูโซ๊ะ ปากีสถาน ปัจจุบันมีการเคลื่อนไหวทางด้านการเมืองการทหารทั้งในประเทศไทย และมาเลเซีย
โครงสร้างการจัดกลุ่มพูโล

กลุ่มพูโล
บก.ความมั่นคงภายในประเทศ
ฝ่ายก่อวินาศกรรม
ฝ่ายการทหาร
กองกำลังติดอาวุธ (นิมบรา)
กองกำลังเขตเหนือ
กองกำลังเขตใต้

- พื้นที่เคลื่อนไหวเขต จว.ยะลา,สงขลา,สตูล - พื้นที่เคลื่อนไหวเขต จว.ปัตตานี,นราธิวาส
- หน. มะแอ สะมะแอ/สะมะแอ ท่าน้ำ/ - หน. ดอเละ นาโต้
หะยีกอดดาฟี อิสมาแอล - รองฯ นาฮารี โคกนิบง
- รองฯ เจ๊ะหลง อาลีมะ - กำลังประมาณ ๕๕-๖๐ คน
- รองฯ บือราเฮง ท่าน้ำ กลุ่มที่เคลื่อนไหวในพื้นที่
- กำลังประมาณ ๒๕-๓๐ คน ๑. กลุ่ม บาฮารี โคกนิบง ๑๐-๑๕ คน
กลุ่มที่เคลื่อนไหวในพื้นที่ ๒. กลุ่ม ดอเลาะ นาโต้ ๑๐ คน
๑. กลุ่ม สะมะแอ ท่าน้ำ ๑๐ คน ๓. กลุ่ม เปาะลายะ/ดอยา หะยีมะนารง ๗ คน
๒. กลุ่ม บือราเฮง ท่าน้ำ ๑๐ คน ๔. กลุ่ม เปาะสูแม แว้ง ๗ คน
๓. กลุ่ม ดาโอ๊ะ ท่าน้ำ/ตรังกาบู ๗-๑๐ คน ๕. กลุ่ม สะมะแอ ยูโช๊ะ ๗-๑๐ คน
๔. กลุ่ม มะยะโก๊ะ ปาแดรายอ ๗-๑๐ คน ๖. กลุ่ม มะ กูเล็ง ๗ คน
๕. กลุ่ม อายุ ริดดิน ๗. กลุ่ม อายุ บุดี/นายิ ๕ คน
๘. กลุ่ม อาเด๊ะยา/เปาะยา บูเก๊ะสูดอ/
ปะลุกาสาเมาะ ๗-๑๐ คน
๙. กลุ่มบือราเฮง ยามูแรแน ๑๕ คน
๑๐. กลุ่มรุสมัน ยามูแรแน ๗ คน
(๑) การก่อตั้งโดย กลุ่มนักศึกษา และชาวไทยมุสลิมในประเทศซาอุดิอารเบีย โดยการรวมองค์กร ๒ องค์กรเข้าด้วยกันคือ "สมาคมนักศึกษาหนุ่ม" กับ "สมาคมปัตตานีรวมซาอุดิอารเบีย" จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๑ ปัจจุบันมี หะยียูโซ๊ะ ชาวปากีสถาน เป็น หน.
(๒) นโยบาย เป็นแบบสาธารณรัฐประชาธิปไตย (โดยยึดหลักกฎศาสนาอิสลามเป็นธรรมนูญ)
(๓) การปกครองเมื่อแบ่งแยกดินแดนจังหวัดนราธิวาส, ปัตตานี, ยะลา, สตูล และสงขลาบางส่วนได้แล้ว จะจัดตั้งรัฐอิสระ โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข
(๔) ปัจจุบันยังคงมีการเคลื่อนไหวทางด้านการเมือง การทหารสูง


GMIP
กลุ่มโจรมิจฉาชีพมูจาฮีดินอิสลาม ปัตตานี( GERAKAN MUJAHIDIN ISLAM PATANI – GMIP ) ก่อตั้งเป็นกลุ่มขบวนการ โดยที่มีความเป็นมาสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับพรรคพวกโจรก่อการร้ายหลายกลุ่มหลายขบวนการที่เคยปฏิบัติการเคลื่อนไหวมาในอดีต แต่ภายหลังได้ยุติการเคลื่อนไหวหรือลดบทบาทลง ซึ่งแกนนำหลักของกลุ่มเชื่อว่าประกอบด้วย แนวร่วมมูจาฮีดินปัตตานี ( BARISAN BERSATU MUJAHIDIN PATANI – BBMP ) และขบวนการมูจาฮีดินปัตตานี ( GERAKAN MUJAHIDIN PATANI – GMP) โดยแนวร่วมมูจาฮีดินถูกก่อตั้งขึ้นในวันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๘ ซึ่งมีบุคคลกลุ่มต่าง ๆ ที่มีแนวความคิดที่จะร่วมขบวนการต่าง ๆ ที่ปฏิบัติการล้มเหลวและขาดเอกภาพให้สามารถรวมพลังเป็นหนึ่งเดียว และมีความเข้มแข็ง ตลอดจนมีวัตถุประสงค์ที่เด่นชัดเหมือนกันในการปลดแอก ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ประชากรส่วนใหญ่มีศรัทธานับถือศาสนาอิสลาม และสถาปนาอาณาบริเวณนี้เป็นรัฐอิสระ เรียกว่า รัฐปัตตานี ดารุลมุอารีพ ยึดถือหลักการต่อสู้เพื่อพิทักษ์และดำรงความเป็นธรรมตามแนวทางศาสนาอิสลาม หรือนัยหนึ่งหลักจีฮัด ( JIHAAD ) ซึ่งแนวร่วมนี้มีแกนนำ คือ นายหะยีอามีน โต๊ะมีนา แกนนำ BRIN – COOR DINATOR ซึ่งปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว และนายหะยีอับดุล เราะห์มาน หรือ โต๊ะครู พ่อมิ่งนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิทางศาสนา ส่วนเสนาธิการ คือ นายตวนกูบีรอ กอตอนีลอแกนนำ BNPP – BIPP เดิมและมีนายหะยีสุดิงหรืออาซุดดิน อับดุลลาแวะ
แนวร่วมมูจาฮีดินปัตตานี – BBMP ซึ่งมีศูนย์การปฏิบัติการอยู่ในเมืองโกตามารู รัฐกลันตัน มาเลเซีย กำหนดแนวนโยบายในการดำเนินกิจกรรมการเคลื่อนไหวเป็น ๓ ขั้นตอนได้แก่
๑. การดำเนินการทางการเมือง
๒. การปฏิบัติการทางทหารและการก่อการร้าย
๓. กิจกรรมด้านสังคมและวัฒนธรรม
อย่างไรก็ดี แนวร่วมมูจาฮีดินนี้ ตามที่ปรากฎไม่ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์เนื่องจากขาดพลังขับเคลื่อนทั้งรูปธรรมและนามธรรม จนไม่สามารถสร้างน้ำหนักและแรงกระแทกต่อความมั่นคงของรัฐได้ เพราะว่าความขัดแย้งภายในองค์กรไม่สามารถที่จะตกลงกันได้ในการดำรงความมุ่งหมายหลักไว้ และปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้เป็นไปตามกระแสสังคมของคนในท้องถิ่นที่ไม่เห็นด้วยกับการใช้ความรุนแรงและนโยบายทางการเมืองของแนวร่วมมูจาฮีดินที่รับอิทธิพลจากกลุ่มนักการเมืองหัวรุนแรงในมาเลเซีย โดยเฉพาะจากกลุ่มอนุรักษ์นิยมทางศาสนาและการเมืองในมาเลเซียตะวันออก ดังนั้น การปฏิบัติการทางทหารและการก่อการร้าย จึงประสบความล้มเหลว ขาดความเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง จึงทำให้การดำเนินกิจกรรมทางสังคมและวัฒนธรรมไม่บรรลุเป้าหมาย ด้วยเข้าไม่ถึงมวลชน จึงขาดองค์ประกอบสำหรับการโฆษณาชวนเชื่อ จนในที่สุดการปฏิบัติการของแนวร่วมมูจาฮีดินปัตตานี – BBMP ค่อย ๆ ลดน้อยลงตามลำดับ จนเป็นเหตุให้เกิดการแยกตัวเป็นอีกขบวนการหนึ่งโดยในปี พ.ศ. ๒๕๒๙ เกิดกลุ่มเคลื่อนไหวอีกกลุ่มหนึ่งเรียกว่า ขบวนการมูจาฮีดินปัตตานี – GMP ” ซึ่งพลพรรคส่วนใหญ่แยกตัวมาจากขบวนการ BIPP หรือขบวนการ BNPP เดิม และแนวร่วมมูจาฮีดินปัตตานี – BBMP แต่การเคลื่อนไหวของ ขบวนการมูจาฮีดินปัตตานี – GMP ” นั้นจะยึดแนวทางการเมืองเป็นสำคัญ และมีกิจกรรมอยู่ภายในประเทศมาเลเซียเป็นส่วนใหญ่ แต่ประเด็นสำคัญของขบวนการนี้คือเป็นแกนนำประสานงานรวบรวมขบวนการแยกดินแดนเป็นพันธมิตร ซึ่งมีแกนหลักคือ กลุ่ม PULO กลุ่ม BIPP และ BRN CONGRESS จนสามารถสถาปนาเป็นขบวนการร่วมเพื่อเอกราชปัตตานี หรือ BERSATU ได้เป็นผลสำเร็จ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๒ เป็นต้นมาและปัจจุบันยังคงดำเนินกิจกรรม
ถึงแม้ว่าการดำเนินการของขบวนการมูจาฮีดินปัตตานี – GMP จะประสบความสำเร็จได้ในระดับหนึ่ง แต่ความขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์ แนวทางการบริหาร นโยบายการกำหนดตัวบุคคลชั้นผู้นำ ผลประโยชน์เชิงทุนนิยม และนโยบายการขยายเขตอิทธิผลเพื่อให้สาธารณชนท้องถิ่นเข้าร่วมขบวนการจนในที่สดุมีการเรียกค่าคุ้มครอง เมื่อบางกลุ่มได้และบางกลุ่มไม่ได้ จนเป็นเหตุให้มีการแยกตัวออกเป็นก๊กอีกก๊กหนึ่ง คือ กลุ่มโจรมูจาฮีดินอิสลามปัตตานี – GMIP ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มผู้เสียผลประโยชน์จากกลุ่ม BIPP กลุ่ม BBMP และ GMP ตลอดจนกลุ่มที่นิยมหลักแนวคิดแบบซิอะห์ ซึ่งกลุ่มนี้อยู่เบื้องหลังการชุมนุมประท้วงที่มัสยิดกรือเซะอำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ในปี พ.ศ.๒๕๓๓ แต่ประเด็นที่เป็นทางการเรียกกลุ่มนี้ว่า กลุ่มโจร เพราะว่ามีโจรมิจฉาชีพที่แอบแฝง หรือหลบหนีคดีอาญาจากประเทศไทยเข้าไปพักพิงในมาเลเซีย
กลุ่มโจรมูจาฮีดินอิสลามปัตตานีก็เหมือนกลุ่มขบวนการแยกดินแดินอื่น ๆ ที่จะใช้ประโยชน์ของการเป็นบุคคลสองสัญชาติสถาปนาศูนย์ปฏิบัติการขึ้นในประเทศมาเลเซีย
วิธีการของกลุ่มโจรมูจาฮีดินจะเป็นการใช้กิจกรรมทางสังคมเป็นฉากบังหน้าเช่น งานชุมนุมพบปะสังสรรค์ และการจัดงานเลี้ยงอาหาร ซึ่งบางครั้งมีผู้เข้าร่วมเป็นพันคนทั้งคนไทยที่เข้าไปประกอบอาชีพในมาเลเซียและคนท้องถิ่นมาเลเซีย ซึ่งวัตถุประสงค์หลักได้แก่ การปลุกระดม สร้างแนวคิดการแยกดินแดน การจัดหาและรับสมาชิก ตลอดจนการจัดหาทุน
ช่วงปฏิบัติการที่ประสงค์ความสำเร็จสูงสุดของกลุ่มโจรมูจาฮีดินอิสลามปัตตานีเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๕ - ๒๕๓๘ ที่ทำการปลุกระดมโฆษณาชวนเชื่ออย่างต่อเนื่องและขยายขอบเขตเครือข่ายครอบคลุมทั้งในมาเลเซีย โดยเฉพาะรัฐตรังกานู และ ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ จนได้รับความสนใจและสนับสนุนและแนวร่วมมากขึ้น และเริ่มปรากฏข่าวสารการเคลื่อนไหวเป็นรูปธรรมชัดเจนยิ่งขึ้น ทำให้กลุ่มโจรนี้ได้พัฒนายกระดับการต่อสู้ด้วยกองกำลังจากกลุ่มบุคคลที่มีพฤติกรรมเป็นโจรแอบแฝง ผู้มีคดีอาญาติดตัว กลุ่มมือปืนรับจ้างทั้งภายในท้องภายในท้องถิ่นและที่หลบหนีไปอยู่ในมาเลเซีย กลุ่มวัยรุ่นว่างงานที่ส่วนใหญ่มีประวัติเกี่ยวข้องกับยาเสพติด และผู้มีความคับแค้นใจทั้งเหตุผลส่วนตัวและอุดมการณ์ทางการเมือง โดยเรียกตัวเองว่ากองกำลังมูจาฮีดินอิสลามปัตตานี ( ANGKA-TAN MUJAHIDIN ISLAM PATANI ) ปฏิบัติการก่อการร้าย การก่อวินาศกรรม การขู่กรรโชกทรัพย์จากเจ้าของกิจกรรมที่กลุ่มโจรมิจฉาชีพนี้อ้างว่าเป็นผู้ทรยศต่อท้องถิ่น หรือผู้ที่ให้การสนับสนุนเจ้าหน้าที่ทางการของรัฐโดยในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ เริ่มก่อการร้ายในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ เริ่มต้นที่การขว้างระเบิดห้องแสดงรถยนต์ มาสด้าของ บริษัท ชูเกียรติยนต์ จำกัด อำเภอเมืองจังหวัดปัตตานี ในวันที่ ๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๘ และยังคงปฏิบัติการลักษณะนี้จนถึงปัจจุบัน
กลุ่มโจรมูจาฮีดินอิสลามปัตตานีคือ ปัญหาความสลับซับซ้อนเนื่องจากเป็นการผสมผสานพฤติกรรมของโจรธรรมดากับการแอบอ้างแนวคิดทางอุดมการณ์รัฐศาสตร์ตลอดจนถูกใช้ประโยชน์ให้เป็นเครื่องมือในการคิดบัญชีแค้นของความขัดแย้งในปัญหาผลประโยชน์ส่วนตัว และยังเป็นเครื่องมือในการสร้างความปั่นป่วน วุ่นวายสับสนให้กับบ้านเมืองอันเป็นประโยชน์แก่นักการเมืองท้องถิ่นบางคน และกลุ่มเจ้าหน้าที่ทางการบ้านเมืองที่ชั่วร้ายบางคน คาดหวังสร้างตัวเลขในการตั้งงบประมาณการปราบปราม หรือแม้กระทั่งเจ้าหน้าที่รัฐวิสหกิจบางกลุ่มสามารถผนวกอัตราค่าเสี่ยงภัยจากการก่อการร้ายให้เป็นตัวแปรสร้างตัวเลขต้นทุนที่เหนือจริงทำให้งบประมาณก่อสร้างสูงกว่าความเป็นจริง ซึ่งทำให้มีผู้ได้รับผลประโยชน์มากมายเป็นลูกโซ่
สรุป
กลุ่มมูจาฮีดีนอิสลามปัตตานี (GERAKAN MUJAHIDEEN ISLAM PATANI) หรือ G.M.I.P. เป็นกลุ่มที่นิยมในการก่อการร้ายในเมือง เพราะไม่มีกองกำลังในเขตป่าและเห็นว่าการมีกองกำลังไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ ก่อนที่กลุ่มนี้จะปฏิบัติการมักจะศึกษาสถานการณ์ทุกครั้งให้รู้จุดอ่อน แล้วก็จะนำไปโฆษณาชวนเชื่อและลงมือก่อการร้าย ยิ่งเมื่อเจ้าหน้าที่มีเงื่อนไขกับชาวบ้าน ก็จะอาศัยสถานการณ์ของเจ้าหน้าที่ไปทำให้เกิดความรู้สึกว่า ไม่ได้รับความเป็นธรรม ข้าราชการตำรวจนับเป็นเจ้าหน้าที่ ที่เป็นจุดอ่อนมากที่สุดในเรื่องของความเป็นธรรม จึงไม่พ้นที่จะตกเป็นเป้าหมายในการโจมตีอยู่ตลอดดังที่ปรากฎ
ประมาณปี ๒๕๒๙ ขบวนการ GERAKAN MUJAHIDEEN ISLAM PATANI (G.M.P.) หรือขบวนการมูจาฮีดีนปัตตานีได้ก่อตั้งขึ้น โดยมีนายแวหามะ แวยูโซ๊ะ เป็นหัวหน้าและมีนายอับดุลเลาะมันหรือเจ๊ะกูแม อาหะมะ เป็นหัวหน้าฝ่ายประชาสงเคราะห์ ต่อมาในปี ๒๕๓๖ ได้ยุบขบวนการเนื่องจากเกิดความขัดแย้งเรื่องการเงินภายในขบวนการ แต่ในความเป็นจริง ขบวนการมูจาฮีดีนปัตตานี หรือ G.M.P. ยังคงมีอยู่ เพียงแต่มีการเคลื่อนไหวหรือมีบทบาทไม่มากนัก ซึ่งสังเกตได้จากที่ขบวนการนี้เป็นหนึ่งในัพันธมิตรร่วมของขบวนการ BERSATU
ช่วงต้นปี ๒๕๓๗ เจ๊ะกูแม อาหะมะรวบรวมสมัครพรรคพวกเพื่อจัดตั้งขบวนการขึ้นใหม่ใช้ชื่อว่า GERAKAN MUJAHIDIN ISLAM PATANI (G.M.I.P.) ส่วนมากสมาชิกเป็นกลุ่มบุคคลที่มีคดีอาญาติดตัว หรือเป็นมือปืนรับจ้าง หลบหนีจากประเทศไทยไปอยู่ในมาเลเซียโดยเฉพาะในรัฐตรังกานูซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่ของหัวหน้ากลุ่มและแนวร่วมหลายคนได้มีการจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการที่เน้นหนักด้านก่อวินาศกรรม และการขู่กรรโชกทรัพย์จากเจ้าของกิจการต่าง ๆ และก่อเหตุร้ายในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อสร้างอิทธิพลให้กับขบวนการ เริ่มเคลื่อนไหวอย่างจริงจังเมือเดือนสิงหาคม ๒๕๓๘ มีที่ตั้งสำนักงานอยู่ที่เลขที่ ๑๑ ซอยบูดีบัน บ.บาตูปูโร๊ะ อ.โกตาบารู รัฐกลันตัน มาเลเซีย
จากรายงานข่าวขบวนการ G.M.I.P. มีความเกี่ยวข้องกับขบวนการพูโล และ B.R.N. ทั้งนี้ เนื่องจากมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ การขู่กรรโชกทรัพย์ และการก่อเหตุร้ายเพื่อสร้างอิทธิพล ซึ่งพื้นที่อิทธิพลเป็นพื้นที่ซ้อนทับกันจึงเกิดการขัดแย้งในเรื่องผลประโยชน์ต่อกันแต่อย่างไรก็ตามมีความเป็นไปได้ว่ากลุ่มก่อการร้ายดังกล่าวอาจตกลงกันได้ในผลประโยชน์ และอาจมีการเจรจากันระหว่างสมาชิกระดับนำในมาเลเซีย จากข่าวบางกระแสระบุว่า ขบวนการ G.M.I.P. ได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการพูโลใหม่ กลุ่มของนายอารง มูเล็ง หรืออารงอเมริกา

BERSATU
แนวร่วมเพื่อเอกราชปัตตานี หรือ BARISAN BERSATU KEMERDEKAAN PATANI – BERSATU ซึ่งเป็นกลุ่มโจรก่อการร้ายกลุ่มต่าง ๆ ที่ดำเนินการต่อสู้เพื่อปลดปล่อย ๕ จังหวัด ชายแดนภาคใต้ในห้วงระยะเวลาหลายทศวรรษที่ผ่านมา ประสบความล้มเหลว และมีสภาพที่อ่อนแอลงดังนั้นโจรก่อการร้ายกลุ่มต่าง ๆ จึงมีแนวคิดในการรวมตัวให้เป็นเอกภาพในการเคลื่อนไหวเสมอมา แต่ไม่เคยบรรลุเป้าหมายอย่างสมบูรณ์แม้แต่ครั้งเดียว ทั้ง ๆ ที่ได้รับการช่วยเหลือจากกลุ่มอนุรักษนิยมมาเลเซียตะวันออก เพื่อให้เป็นเพียงต้นแบบในการปฏิวัติแยกดินแดนแต่ยังขาดความเชื่อมโยงให้เป็นระดับสากลกับการก่อการร้ายมุสลิม เนื่องจากรัฐบาลมาเลเซียเองก็ตระหนักถึงภัยของการแยกดินแดนของกลุ่มอนุรักษนิยมมุสลิมในมาเลเซียตะวันออก ซึ่งอาจจะได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มก่อการร้ายสากล จึงทำการจับกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องกับ อัล-เควด้า หลังเหตุการณ์ ๑๑ กันยายน ปีที่แล้ว
การรวมตัวขององค์กรและขบวนการ ๔ กลุ่มประกอบด้วย BIPP, BRN-CONGRESS, GMP และ NEW PULO ซึ่งเกิดจากมติของการประชุมที่เรียกว่า การประชุมบรรดานักต่อสู้เพื่อปัตตานี เมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ ให้จัดตั้งองค์การร่วมหรือองค์การปายง( UMBRELLA ORGANIZATION ) อันมีวัตถุประสงค์ที่จะเสริมสร้างเอกภาพและดำเนินการให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ตลอดจนมีการกระทำสัตย์ปฏิญาณ และลงนามร่วมกันตามสาระมติสำคัญดังนี้
๑. ร่วมกันต่อสู้เพื่อปลดปล่อยปัตตานี และก่อตั้งเป็นรัฐมะลายูอิสลาม
๒. ใช้หลักการต่อสู้เพื่อศาสนา จีฮัด ด้วยกองกำลังก่อการร้ายติดอาวุธ
๓. ต่อต้านหลักการและนโยบายต่าง ๆ ของรัฐบาลไทย
๔. เรียกร้องให้ประเทศมุสลิมทั่วโลกสนับสนุนการต่อสู้นี้
๕. เรียกร้องให้นานาชาติและขบวนการองค์กรอิสระสนับสนุนการต่อสู้เพื่อรัฐปัตตานี
๖. ร่วมมือกับขบวนการปลดแอกทุกกลุ่ม และผู้ที่ใฝ่หาสันติทั่วโลก
องค์การปายงได้ดำเนินการภายใต้การบริหารของคณะกรรมการร่วมได้หนึ่งปีเศษ จึงเปลี่ยนชื่อเป็นแนวร่วมเพื่อเอกราชปัตตานี หรือ BERSATU ในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ และนายวาห์ยุดดิ มูฮัมหมัด เป็นประธานคนแรก และกรรมการถูกสรรหาจากแกนนำของกลุ่มสำคัญ ๔ กลุ่มก่อตั้ง ซึ่งเมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน ได้จัดทำรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ เพื่อให้เป็นบรรทัดฐานการบริหารองค์กรได้อย่างมีแบบแผน และมีประสิทธิภาพ และที่ตั้งปัจจุบันองค์กรภายใต้การนำของ ดร.มาฮาดีกาโจ๊ะหรือ ดร.ฟาเดร์เจ๊ะมานอยู่ในมาเลเซีย
องค์กรหรือขบวนการต่าง ๆ ที่มีอุดมการณ์ทางการเมือง เพื่อแยกดินแดนจังหวัดชายแดนภาคใต้และที่เป็นเพียงกลุ่มโจรมิจฉาชีพธรรมดา จะแสวงหาผลประโยชน์ร่วมกันในการก่อการร้ายทุกรูปแบบ จึงทำให้ดูเหมือนว่าการปฏิบัติการรุนแรงและกว้างขวาง หากแต่ว่าการมุ่งสู่วัตถุประสงค์หลักนั้นขาดเอกภาพ และภาพลักษณ์ที่คนไทยนับถือ

3 สถานการณ์ปัจจุบันของโจรก่อการร้าย

ไม่ว่าจะเป็นขบวนการ PULO หรือ B.R.N. ซึ่งคงมีกองกำลังเคลื่อนไหวอยู่ในและนอกประเทศ ในปัจจุบันจำเป็นจะต้องแบ่งแยกให้ชัดเจนสรุปได้คือ
๑) จกร.จริง ภายนอกประเทศ
๒) จกร.จริง ภายในประเทศ
จกร.จริงภายนอกประเทศ จกร.ประเภทนี้ได้แก่คณะบุคคลที่เป็นแกนนำหรือ เป็นสมาชิกระดับนโยบายปัจจุบันมักจะเป็นผู้อาวุโสหรือมีประวัติในการต่อสู้ ในอดีตมาเป็นเวลานาน และได้รับการยอมรับและคัดเลือกเข้ามาร่วมบริหารงานในองค์กรลับที่จัดตั้งขึ้น โดยอาศัยประเทศมาเลเซีย และประเทศอื่น ๆ เป็นที่หลบซ่อนตั้งสำนักงานดำเนินการในทางลับ ปัจจุบันมีอยู่ ๒ กลุ่มใหญ่ คือ P.U.L.O. และ B.R.N. สำหรับกลุ่ม P.U.L.O. นั้นจะแบ่งเป็น ๒ กลุ่มใหญ่คือ
๑) กลุ่มแกนนำเคลื่อนไหวในประเทศมาเลเซียมีสมาชิกประมาณไม่เกิน ๓๕ คน
๒) กลุ่มแกนนำเคลื่อนไหวนอกประเทศมาเลเซีย (ลิเบีย, ซูดาน, ซาอุดิอารเบีย, สวีเดน, อิหร่าน, ซีเรีย, อียิปต์, ปากีสถาน, เยอรมัน) มีสมาชิกไม่เกิน ๑๖ คน
สำหรับกลุ่ม B.R.N. นั้นจะมีสมาชิกระดับเคลื่อนไหวจัดตั้งสำนักงานอยู่ในประเทศมาเลเซียมีสมาชิกไม่เกิน ๒๘ คน
นอกจากนั้นก็จะเป็นสมาชิกฝ่ายกองกำลังที่ปฏิบัติการอยู่ภายในประเทศไทยแต่หลบหนีหรือเดินทางเข้าไปเพื่องานธุรการในมาเลเซีย เช่น การรักษาพยาบาลเป็นต้น
จกร.จริงภายในประเทศไทย จกร.ประเภทนี้ได้แก่บุคคลที่ดำเนินการเคลื่อนไหวเป็นกองกำลังติดอาวุธมีกลุ่มมีชื่อจัดตั้งมีสังกัดพวกอย่างชัดเจน มีการดำเนินงานในลักษณะจรยุทธและมีการปฏิบัติทั้งด้านการเมืองและการทหารควบคู่กันไป ส่วนใหญ่สมาชิกพวกนี้จะเป็นผู้ที่ได้รับการฝึกมาแล้วหรือไม่ก็อยู่ร่วมขบวนการมาเป็นเวลานานและอาศัยประสบการณ์จากการปฏิบัติการบ่อยครั้งจนเกิดความชำนาญ นอกจากนั้นสมาชิกบางคนอาจเข้าร่วมขบวนการด้วยภาวะจำยอม เช่น กรณีมีคดีอาญาต้องหลบหนีหรือถูกบีบคั้นจากคู่กรณี หรือ จนท.ของรัฐบางคนปัจจุบันมีอยู่ ๒ กลุ่มคือ
๑) P.U.L.O. มีกองกำลังประมาณไม่เกิน ๖๐ คน
๒) B.R.N. มีกองกำลังประมาณไม่เกิน ๑๐๐
สถานภาพด้านจิตวิทยาของกลุ่มขบวนการ
คงต้องยอมรับความจริงว่า แนวความคิดหรืออุดมการณ์ในการแบ่งแยกดินแดนแล้วปกครองตนเองนั้นยังมีอยู่ และยังมีความหวังอยู่ในบุคคลบางกลุ่มอย่างไม่เสื่อมคลาย ดังนั้น การวิเคราะห์และประเมินสถานภาพด้านขวัญและกำลังใจหรือท่าทีของสมาชิกในทุกระดับต้องแยกแยะให้ชัดเจนพอสรุปได้ดังนี้
สมาชิกผู้นำระดับสูง (ส่วนมากอยู่ในมาเลเซีย) สมาชิกพวกนี้ส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นเก่า และเป็นรุ่นก่อตั้งขบวนการขึ้น ทุกคนล้วนแต่เคยมีอดีตที่ฝังใจต่อรัฐบาลและองค์กรของรัฐในทางลบ จนยากที่จะลืมเลือนได้ นอกจากนั้น ยังได้รับประโยชน์จากการเป็นผู้นำขบวนการต่าง ๆ อย่างคุ้มค่าและพอใจที่จะดำรงสถานภาพเช่นนี้อยู่ต่อไปตราบใดที่สถานการณ์ ยังเกื้อกูลให้ขบวนการมีโอกาสเคลื่อนไหวและปฏิบัติการอยู่ อย่างไรก็ตาม สมาชิกพวกนี้ก็อยู่ในลักษณะที่ได้เปรียบทางด้านสภาพขวัญ กล่าวคือมีทางเลือกในอนาคตซึ่งล้วนแต่ก่อให้เกิดผลดีกับตนเองทั้งสิ้นไม่ว่าจะต่อสู้ต่อไปหรือจะออกมาเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย เพราะเงื่อนไขในการมอบตัวของไทยนั้น ยอมรับได้ในทุกกรณีอยู่แล้ว และอีกอย่างสภาพทางเศรษฐกิจของสมาชิกเหล่านี้ล้วนอยู่ในระดับที่เรียกว่ามีความมั่นคงแล้วทั้งสิ้น
สมาชิกผู้นำระดับกลาง (ส่วนมากอยู่ในมาเลเซีย) สมาชิกเหล่านี้ได้แก่ อดีตผู้นำกลุ่มขบวนการที่เคยปฏิบัติการทางทหารภายในประเทศไทยมาก่อนแล้วไปปฏิบัติงานในหน้าที่ที่สูงขึ้นอาจถึงระดับนโยบายหรือระดับบริหารสมาชิกเหล่านี้อาจจะเป็น หน.กลุ่ม หรือ หน.กองกำลังที่มีความอาวุโสแล้ว โดยทั่วไปสถานภาพของผู้นำระดับนี้จะมีความเป็นอยู่ปานกลาง มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจพอสมควร ซึ่งสภาพจิตใจปัจจุบันจะมีความรู้สึกเบื่อหน่ายต่อการร่วมขบวนการ เนื่องจากความไม่ชัดเจนในอนาคต ประกอบกับเคยเป็นผู้ปฏิบัติการรบมาก่อน จึงสามารถที่จะประเมินสถานการณ์ที่เป็นจริงได้อย่างถูกต้องและมีเหตุผลเช่น ปัจจุบันสถานการณ์ทางด้านการเมืองและการทหารผันแปรและพลิกกลับจน จกร.ต้องตกเป็นฝ่ายรับมาโดยตลอดประชาชนต่างพากันปฏิเสธ จกร.ผิดกับเมื่อ ๑๐ ปีก่อนที่ผ่านมา นอกจากนั้นฝ่าย จนท.ของรัฐได้ชิงทำลายเงื่อนไขต่าง ๆ ลงได้อย่างรวดเร็ว และรัฐบาลให้ความจริงจังในการแก้ปัญหาโดยเฉพาะระดับพื้นที่ กองทัพภาคที่ ๔ ก็ได้กำหนดแนวทางในการปราบปรามและแก้ปัญหาอย่างตรงจุด เพียงแต่ระยะเวลาอาจกำหนดไม่ได้ชัดเจนเท่านั้นว่าช้าหรือเร็วเท่าไร ดังนั้น สมาชิกระดับนี้จึงมีสภาพขวัญและกำลังใจค่อนข้างต่ำกล่าวคือ รู้อนาคตอย่างชัดเจนว่าไม่มีหนทางที่จะยึดอำนาจรัฐและโอกาสที่เหมาะสมได้ผ่านเลยไปแล้ว จะมีก็เพียงแต่แนวคิดที่จะเร่งรีบกอบโกยหาผลประโยชน์ โดยเฉพาะเพื่อการสร้างฐานะทางเศรษฐกิจให้มั่นคงเพราะอย่างไรเสียก็มีหนทางการเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยเปิดประตูรออยู่แล้ว
สมาชิกที่เป็นกองกำลังติดอาวุธ (ในประเทศไทย) สมาชิก พวกนี้มีทั้งกลุ่ม P.U.L.O. และ B.R.N. ส่วนมากจะเป็นหน่วยเคลื่อนไหวทั้งการเมืองและการทหารภายในประเทศไทย โดยมีการจัดตั้งแบ่งเป็นกลุ่มย่อยกลุ่มละ ๕-๑๐ คน ซึ่งการจัดตั้งหรือการประกอบกำลังจะขึ้นอยู่กับขีดความสามารถของหน.กลุ่ม ว่าจะสามารถหาสมาชิกมาเข้าร่วมได้มากน้อยเท่าไร อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน จกร.เหล่านี้มีการติดต่อประสานงานใกล้ชิดกันมากขึ้น กล่าวคือ แม้บางครั้งเขตอิทธิพลทับกันหรือซ้ำซ้อนกันก็ไม่ก่อให้เกิดปัญหา หรือขัดแย้งกันแต่อย่างไร ซึ่งผิดกับเมื่อก่อนมักจะปรากฎมีการปะทะกันเองบ่อยครั้งเสมอ และเมื่อมีการเผชิญหน้ากันระหว่างกลุ่มก็จะมีสัญญาณผ่านหรือสัญญาณบอกฝ่ายเช่น การใช้คำสั่งทักทายกันตามหลักศาสนาอิสลามเป็นต้น

เมื่อพิจารณาถึงสภาพความเป็นอยู่และการดำรงชีพของสมาชิกกลุ่มนี้แล้วจะพบว่ามีความเป็นอยู่ที่ลำบากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนไหวทางการเมืองหรือทางทหารก็ตาม สมาชิกพวกนี้จะมีความระมัดระวังตัวเองมากที่สุดจนบางครั้งก่อให้เกิดความหวาดระแวงกันเองเหมือนกัน เช่นในระหว่างการติดต่อเพื่อหาซื้อเสบียงจากบริเวณหมู่บ้านเป็นต้น ดังนั้นจึงไม่แปลกอะไรที่มีข่าวปรากฎว่า จกร.มักจะอาศัยภรรยาของ หน.กลุ่มขบวนการต่าง ๆ หรือเครือญาติ เป็นผู้จัดหาซื้อเสบียงอาหารให้เพราะมีความไว้วางใจได้มากกว่าบุคคลอื่น สำหรับสภาพขวัญยืนยันได้ว่าปัจจุบันนี้ สมาชิก จกร.ประเภทนี้มีขวัญตกต่ำที่สุด แต่ที่เขาเหล่านั้นไม่ออกหรือหลบหนีมาเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยนั้น คงมีเหตุผลส่วนตัวหลาย ๆ ประการเช่น
(๑) เป็นผู้หลบหนีคดีมาก่อนและไม่มีโอกาสรู้จักมักคุ้นกับผู้มีอิทธิพลหรือบุคคลที่ไว้ใจได้เป็นผู้ให้ ความมั่นใจในการมอบตัว
(๒) มีความหวาดกลัวต่อพวกเดียวกันว่าจะอาฆาตพยาบาทและลอบทำร้าย ถ้าหากออกมารายงานตัวเป็น ผรท.
(๓) ไม่มีความมั่นใจตนเองว่าจะได้รับความปลอดภัยอย่างเต็มที่ถ้าหากออกมาเป็น ผรท.แล้วอาจถูกคู่กรณีหรือฝ่ายเจ้าทุกข์ลอบทำร้ายได้
(๔) การรับมอบตัวที่ผ่านมายังมีลักษณะขาดความจริงใจคือการปฏิบัติต่อ ผรท.นั้น


4 แอล เคด้า เจไอ และโจรใต้


(ที่มา.......จากเวปไซต์ แห่งหนึ่งขออภัยที่จำชื่อมิได้ ขอขอบพระคุณผู้เขียนบทความจึงขอนำมาเผยแผ่เพื่อประโยชน์ในการศึกษาของชนรุ่นหลัง)

08 ตุลาคม 2551

Chatuchak Art Park

Chatuchak Park of THAILAND